Page 24 - บทที่4-60
P. 24
การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคนี้พบว่าในประเทศแถบตะวันตกพบผู้ป่วยโดยเฉลี่ยประมาณ 1
ต่อ 1000 ประชากร ในทวีปเอเชียพบความชุกที่ค่อนข่างต่ า ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโดยเฉลี่ยประมาณ 2
ต่อ 100000 ประชากร โดยความชุกของโรคนี้จะเพิ่มมากขึ้นถ้ามีประวัติการเป็นโรคนี้ในครอบครัวร่วมด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 30-35 ปี
รูปแสดงกลไกการเกิดโรค multiple sclerosis แหล่งที่มา http://www.nature.com
กลไกการเกิดโรคในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ autoimmune โดย
หลักฐานที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นทางคลินิกคือ การตรวจพบรอยโรคในระบบประสาทส่วนกลาง
จากการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการตรวจพบ plaque formation จากรอยโรคและหลักฐาน
ทางการเสื่อมสภาพพบว่าอาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยมักจะแย่ลง มีการตรวจพบการฝ่อเหี่ยวของ
สมองและการมี astrocytic scar และ axonal loss จากพยาธิสภาพ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อ
การเกิดโรค เช่น พันธุกรรม เชื้อชาติ การติดเชื้อ การขาดวิตามินดี และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็น
ตัวกระตุ้น เป็นต้น
พยาธิสภาพของโรคเป็นแบบ demyelinated plaque ซึ่งประกอบด้วย hypocellular area ที่ไมอิ
ลินหายไปแต่ axon ยังปกติ ต่อมาเกิด astrocytic scar และมี axonal loss ส่วนที่บริเวณ white matter มี
ลักษณะเป็นนิ้วมือยื่นไปตามทางเดินของหลอดเลือดขนาดเล็กและขนาดกลาง เรียกว่า Dorson’s fingers
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560