Page 22 - บทที่4-60
P. 22
ฝีในเนื้อสมอง (Brain abscess)
เชื้อโรคที่ท าให้เกิดฝีในเนื้อสมองนั้นสามารถลุกลามเข้าได้จากหลายทางทั้งจากกระแสเลือดและ
การลุกลามโดยตรง โดยปัจจัยส่งเสริมที่ท าให้เกิดการติดเชื้อ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ชนิด acute bacterial endocarditis ซึ่งจะเป็นแหล่งของเชื้อแบคทีเรียให้กระจายไปสู่สมองได้ง่าย ผู้ป่วยที่มี
ความผิดปกติของหัวใจแต่ก าเนิดชนิด cyanotic congenital heart disease ซึ่งพบว่าจะมีทางเชื่อมระหว่าง
หัวใจห้องขวาและซ้าย (right-to-left shunt) ท าให้เลือดด าบางส่วนไม่ผ่านปอดจึงท าให้ไม่มีการคัดกรองเอา
เชื้อโรคออกจากเส้นเลือดด าในปอด ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อบริเวณโพรงไซนัส รวมถึงผู้ป่วยที่มีการเกิดฝีที่
บริเวณอื่นๆ ของร่างกายน ามาก่อน เป็นต้น เชื้อที่เป็นสาเหตุส าคัญของฝีในสมองแบคทีเรียในกลุ่ม
streptococci และ staphylococci
อาการทางคลินิกของผู้ป่วยจะสัมพันธ์กับบริเวณสมองที่เกิดฝีซึ่งส่วนใหญ่มักพบในต าแหน่งสมอง
ส่วน Temporal lobe และภาวะที่ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น
ระยะของการเกิดฝีในสมอง แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 Early cerebritis stage พบในระเวลา 1-3 วันแรกของการติดเชื้อ โดยพบว่ามีการ
อักเสบและมีการบวมของเนื้อสมอง
ระยะที่ 2 Late cerebritis stage พบในระยะเวลาวันที่ 4-9 ของการติดเชื้อ พบว่ามีการเกิด
เนื้อเยื่อที่ตายขึ้นบริเวณส่วนกลาง (central necrotic area)
ระยะที่ 3 Early capsule stage พบในระยะเวลาวันที่ 10-14 ของการติดเชื้อ เริ่มพบลักษณะของ
ring-enhancing capsule ร่วมกับการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดโดยรอบ
ระยะที่ 4 Late capsule stage พบในระยะหลังวันที่ 14 ของการติดเชื้อ โดยพบว่ามีการตายของ
เนื้อเยื่อภายในแคปซูลเพิ่มมากขึ้น
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560