Page 26 - บทที่4-60
P. 26
กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นลักษณะอาการที่เป็นๆ หายๆ เช่น อาการ
ปวด อาการชา อาการเกร็งเป็นพักๆ ของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
การด าเนินโรคของ Multiple sclerosis มี 4 แบบ ได้แก่
1. Relapsing remitting หมายถึง มีอาการทางระบบประสาทแล้วอาการดีขึ้นและกลับมาเป็นซ้ า
อีก
2. Secondary progressive หมายถึง มีการกลับเป็นซ้ าในระยะแรกของโรคและต่อไปโรคค่อยๆ
เป็นมากขึ้นโดยที่ไม่มีอาการดีขึ้น
3. Primary progressive หมายถึง เริ่มมีอาการและค่อยๆ เป็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี
โดยไม่มีการกลับเป็นซ้ าตั้งแต่เริ่มแรกของโรค
4. Progressive relapsing หมายถึง เริ่มมีอาการและอาการค่อยๆ เป็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่
เริ่มแรกแต่ต่อมามีอาการกลับเป็นซ้ า
การวินิจฉัยขึ้นกับลักษณะอาการทางคลินิกร่วมกับการพบความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง
โดยเฉพาะที่บริเวณ white matter หลายๆ ต าแหน่งจากการตรวจภาพรังสีวินิจฉัยของสมองและไขสันหลัง
การตรวจทางภูมิคุ้มกันของน้ าไขสันหลังพบ oligoclonal band IgG การตรวจพิเศษเพื่อหาต าแหน่งรอยโรคที่
บริเวณอื่น เช่น visual evoked potential (VEP) ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 2005
revised McDonald Diagnostic criteria นอกจากนี้จ าเป็นต้องมีการวินิจฉัยแยกโรคอื่นออกไปด้วย เช่น การ
ติดเชื้อ เนื้องอก โรคหลอดเลือดเป็นต้น
โรครอยต่อเส้นประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular junction disease)
Myasthenia gravis (MG)
MG เป็นโรคทาง autoimmune ชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณต าแหน่ง neuromuscular junction มีลักษณะ
ส าคัญของโรคคือ อาการอ่อนแรงและเกิดอาการล้า (fatigability) โดยเฉพาะเวลาหลังจากการใช้งานของ
กล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นเมื่อได้พัก โรคนี้มีความสัมพันธ์กับ autoantibody ต่อ muscle หรือ muscle cell
membrane และอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม anticholinesterase กลไกการเกิด
โรคเริ่มจากการมี antibodies และ complement binding มากระตุ้นที่บริเวณ neuromuscular junction
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560