Page 79 - Report_Edit_v7
P. 79

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของช่องทางรายได้ของผู้ผลิตที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง

                       จะพบว่า ช่องทางรายได้หลักของผู้ผลิตที่มีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตนเองมีเพียงช่องทางเดียวคือ

                       การผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านแอนิเมชัน

                       พบว่าในปี 2560 ไม่มีผู้ประกอบการที่มีการสร้างแอนิเมชันใหม่ออกมา โดยรายได้หลักของ
                       ผู้ประกอบการคือการจัดจ าหน่ายเนื้อหาคอนเทนต์เดิมของผู้ประกอบการเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า

                       ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนางานแอนิเมชัน ท าให้ยังไม่มีรายได้ในปี 2560 ทั้งนี้

                       ในการสร้างงานแอนิเมชันของกลุ่มผู้ผลิตที่มีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตนเอง เป็นการด าเนินงานที่

                       มีต้นทุนสูง เนื่องจากเป็นงานที่มีความประณีตสวยงาม ใช้เวลาในการผลิตนาน และใช้ก าลังคนเป็น

                       จ านวนมาก โดยการผลิตแอนิเมชัน 1 เรื่อง อาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับงานอื่นได้เป็น
                       ระยะเวลา 2 – 3 ปี


                              จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการถึงรายได้จากการน าเสนองานแอนิเมชัน พบว่า ส่วนใหญ่

                       มักจะไม่ประสบความส าเร็จ ไม่คุ้มทุน ท าให้ปัจจุบันมีผู้ผลิตที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองเพียง

                       ไม่กี่รายเท่านั้น โดยทั้งหมดจะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีเงินทุนเป็นของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพา

                       เงินทุนจากแหล่งอื่นประกอบกับยังไม่มีมาตรการสนับสนุนที่ตรงจุดและเป็นรูปธรรมจากภาครัฐท าให้

                       การสร้างแอนิเมชันที่มีลิขสิทธิ์เป็นของตนเองนั้นท าได้ยาก ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายยังคง
                       มีความพยายามที่จะสร้างงานที่เป็นลิขสิทธิ์ของตนเองเพื่อโอกาสในการเพิ่มมูลค่าทางตลาดให้กับ

                       ผลผลิตของตนเอง


                              5.1.2.2 ผู้รับจ้างผลิต

                              จากการส ารวจมูลค่าอุตสาหกรรมของผู้รับจ้างผลิต พบว่า ช่องทางการน าเสนอที่มีมูลค่ามาก

                       ที่สุดคือ ช่องทาง Production House โดยมีสัดส่วนร้อยละ 37 รองลงมาคือช่องทาง Advertising

                       Agency  และ IP Owner โดยมีสัดส่วนร้อยละ 26 และ 23 ตามล าดับ

                              ทั้งนี้ หากพิจารณารูปแบบ เนื้อหา และมูลค่าของงานแอนิเมชันของผู้รับจ้างผลิต พบว่า

                       รูปแบบที่ผู้รับจ้างผลิตได้รับรายได้มากที่สุดคือ CG Services โดยมีมูลค่า 959 ล้านบาท โดยมีสัดส่วน

                       ร้อยละ 47 รองลงมาคือ Animated TVC (478 ล้านบาท หรือร้อยละ 23)  และ Animated Feature

                       Film (312 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15) ตามล าดับ โดยในปี 2560 พบว่า มูลค่าการส่งออกงาน

                       แอนิเมชันของผู้รับจ้างผลิตมีสัดส่วนสูงกว่ามูลค่าการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ โดยการส่งออกมีมูลค่า

                       1,428 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 70 ของมูลค่า และการผลิตเพื่อใช้ในประเทศมีมูลค่า 618 ล้านบาท
                       หรือ ร้อยละ 30 ของมูลค่า ในขณะที่ ปี 2559 พบว่า การผลิตเพื่อใช้ในประเทศมีมูลค่าสูงกว่าการ






                                                            79
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84