Page 92 - Report_Edit_v7
P. 92

แอนิเมชันเพื่อน าเสนอข้อมูล ทั้งนี้ การจ้างงานจากกลุ่ม Government มักจะมีก าไรที่ได้รับต่อชิ้นงาน

                       ค่อนข้างต่ า ท าให้เป็นการจ้างงานในลักษณะ 2D เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ

                       พบว่าหน่วยงานต่าง ๆ มีความสนใจที่จะจ้างงานในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น แต่มักจะมีปัญหาเรื่องราคา

                       กลางที่ยังไม่ตรงกับราคาตลาดท าให้ได้รับงานที่มีคุณภาพต่ ากว่าที่ควรเป็น

                       5.1.6 สรุปและคาดการณ์อัตราการเติบโตปี 2561 และ 2562

                       อุตสาหกรรมแอนิเมชันของไทยในปี 2560 มีมูลค่าโดยรวมเท่ากับ 3,799 ล้านบาท เมื่อพิจารณาอัตรา

               การเติบโตเปรียบเทียบกับปี 2559 พบว่ามีอัตราการเติบโตลดลงที่ ร้อยละ 4 ทั้งนี้ สัดส่วนมูลค่าของ

               อุตสาหกรรมแอนิเมชันที่มีมูลค่าสูงที่สุดคือการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ โดยมีมูลค่า 2,147 ล้านบาท

               หรือมีสัดส่วนร้อยละ 57 ของมูลค่าทั้งหมด รองลงมาคือ มูลค่าการส่งออก (1,428 ล้านบาท หรือ มีสัดส่วน

               ร้อยละ 38) และ มูลค่าการน าเข้าเพื่อบริโภค (224 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน ร้อยละ 6) ตามล าดับ เมื่อพิจารณา
               มูลค่าอุตสาหกรรมแอนิเมชันจ าแนกตามประเภทผู้ประกอบการ พบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรม

               แอนิเมชัน อยู่ในกลุ่มผู้รับจ้างผลิตมากที่สุด โดยมีมูลค่าถึง 2,046 ล้านบาท ทั้งนี้ช่องทางรายได้ส่วนใหญ่ของ

               กลุ่มผู้ประกอบการประเภทดังกล่าวคือมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการน าเสนอสื่อแอนิเมชันทางโทรทัศน์ และโรง

               ภาพยนตร์


                       จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมแอนิเมชันและกลุ่มผู้ประกอบการ
               รายย่อย ต่อการคาดการณ์อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมแอนิเมชัน สามารถสรุปแนวโน้มการเติบโตของ

               อุตสาหกรรมในภาพรวมได้ดังต่อไปนี้


                       •  อุตสาหกรรมแอนิเมชันมีแนวโน้มอัตราการเติบโตในระดับคงที่ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยคาดการณ์แนวโน้ม

                          อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมแอนิเมชันในปี 2561 และ 2562 ที่ร้อยละ 2 และ 4 ตามล าดับ

                          โดยกลุ่มผู้รับจ้างผลิตจะมีอัตราการเติบโตในปี 2561 และ 2562 ที่ร้อยละ 8 และ 7 และกลุ่ม

                          ผู้ผลิตงานที่มีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตนเองมีแนวโน้มอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในปี 2561

                          และ 2562 เช่นกันที่ร้อยละ 0.4 และ 10 ตามล าดับ ในขณะที่มูลค่าของกลุ่มผู้จัดจ าหน่าย ผู้น า
                          เข้า และผู้ดูแลลิขสิทธิ์มีแนวโน้มที่จะลดลง โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตลดลงในปี 2561 และ

                          2562 ที่ร้อยละ 6 และ 1 ตามล าดับ

                       •  ปัจจัยที่จะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมแอนิเมชันเกิดจากแนวโน้มการรับจ้างผลิต

                          ผลงานแอนิเมชัน หรือการจ้างงานจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีแนวโน้มที่จะเป็นประเภทงาน

                          CG Services มากขึ้น เนื่องจากเป็นลักษณะงานระยะสั้น ท าให้ผู้ประกอบการสามารถรับงานอื่น ๆ

                          ได้ในจ านวนมาก ประกอบกับความต้องการของนักลงทุนในด้านแรงงานที่มีผีมือดี และค่าแรงต่ า




                                                            92
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97