Page 210 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 210

สถานที่ตามเส้นทางเสด็จประพาส
             “ถนนพระร่วง” ในพระราชนิพนธ์

             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว




                   ร่องรอยแนวคู-คันดินที่เห็นเป็นช่วงๆ เชื่อกันมาแต่อดีตว่า
             พูนดินขึ้นเพื่อสร้างให้เป็นถนน เรียกว่า “ถนนพระร่วง” ใช้ในการ
             สัญจรจากเมืองหลวงสุโขทัยไปยังเมืองลูกหลวงที่ก�าแพงเพชรด้าน
             ทิศใต้ และเมืองลูกหลวงที่ศรีสัชนาลัยด้านทิศเหนือ พระบาทสมเด็จ
             พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งยังทรงด�ารงพระราชอิสริยยศ
             พระบรมโอรสาธิราช ทรงสนพระทัยและได้เสด็จส�ารวจถนนโบราณ

             ด้วยพระองค์เอง ตลอดแนวเริ่มต้นจากก�าแพงเพชรจนถึงศรีสัชนาลัย
             และทรงท�าแผนที่แสดงรายละเอียดสถานที่ต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ได้
             เสด็จผ่าน ดังที่ได้ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”
             พ.ศ.  ๒๔๕๑  ซึ่งส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์  และท�าให้ร่องรอย
             แนวคู-คันดินที่เชื่อกันมาแต่อดีตว่าสร้างขึ้นเป็นถนนนั้น ยังคงสภาพ
             เหลือไว้จนถึงปัจจุบัน และใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กรมศิลปากรได้ส�ารวจ
             โบราณสถานตลอดแนวถนนพระร่วง โดยอาศัยแผนที่และหลักฐาน
             ตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งยังคงปรากฏ
             และแสดงให้เห็นได้ชัดเจนในภาพจากดาวเทียมตลอดแนวตั้งแต่

             ก�าแพงเพชรถึงศรีสัชนาลัย
                   การเสด็จของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
             ในครั้งแรกก่อนนั้นเป็นไปอย่างรีบด่วน และเมื่อทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรง

             ทราบว่าได้พบแนว “ถนนพระร่วง” และพร้อมรับเสด็จแล้ว ทรงตัดสิน
             พระทัยแจ้งกลับไปและเริ่มต้นเดินทางในทันที โดยเสด็จทางรถไฟ



                                                               พร้อมข้าราชบริพาร จากสถานีรถไฟจิตรลดา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ จนถึงปากน�้าโพ
                                                               (นครสวรรค์) และเสด็จทางชลมารคจนถึงเมืองก�าแพงเพชร จากนั้นเสด็จตามแนวคันดินที่เชื่อกันว่า
                                                               สร้างขึ้นเป็นถนนพระร่วงไปยังเมืองสุโขทัย  จนถึงเมืองศรีสัชนาลัย  จากนั้นได้เสด็จต่อไปจนถึง

                                                               เมืองอุตรดิตถ์ และเสด็จกลับโดยเรือพระที่นั่ง พักที่เมืองพิษณุโลกและต่อไปจนถึงปากน�้าโพ จากนั้น
                                                               ได้เสด็จโดยทางรถไฟกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ รวมเสด็จประพาสครั้งนี้
                                                               ๖๕ วัน รวมระยะทางไป-กลับวัดจากข้อมูลภาพจากดาวเทียมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๘๘๐ กิโลเมตร
                                                                    ตลอดเส้นทางที่เสด็จผ่าน ทรงบันทึกเล่าเรื่องสถานที่ต่างๆ ไว้อย่างละเอียด รวมถึงการท�า
                                                               แผนที่แสดงแนวเส้นทางส�ารวจถนนพระร่วงที่เสด็จผ่าน แบ่งเป็น ๒ ส่วน เขียนไว้บนแผ่นเดียวกัน
                                                               ช่วงทิศใต้จากก�าแพงเพชรถึงสุโขทัย และช่วงทิศเหนือจากสุโขทัยถึงศรีสัชนาลัย โดยมีพระราชประสงค์

                                                               ให้คนไทยได้รับรู้ถึงสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีอยู่หลากหลายในบ้านเมืองของเรา สามารถเลือกเที่ยว
                                                               เรียนรู้  ได้ไม่แพ้ไปต่างประเทศตามความนิยมสมัยนั้น และเพื่อให้สะดวกส�าหรับผู้สนใจศึกษา
                                                               ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยมุ่งหวังให้เกิดความส�านึกในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ อันมีคุณค่า
                                                               ควรอนุรักษ์ให้คงไว้บนผืนแผ่นดินไทย พระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงได้ส่งผลถึงสถานที่ส�าคัญ
                                                               ทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งแนวคันดินที่เชื่อมาแต่อดีตว่าสร้างขึ้นเป็นถนนนั้น ยังคงสภาพเห็นได้ทั้งใน
                                                               ภูมิประเทศ และสามารถศึกษาได้จากรูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม ดังพระราชนิพนธ์
                                                               ค�าน�าที่ได้ทรงชี้ชวนให้คนไทยหันมาสนใจให้ความส�าคัญ และร่วมมือศึกษาให้มีผลต่อการอนุรักษ์

                                                               ปรากฏในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ดังนี้












           196 196  l
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215