Page 322 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 322

เดลต้าเพชรบุรี                                                      13 ํ 16’ N  เดลต้าเพชรบุรี
                                                                                  100 ํ 07’ E
                                                                                                 เพชรบุรี  ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้คนอยู่อาศัย
                                                                                            มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ -
                                                                                            ๒,๐๐๐ ปี พบหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทขวาน
                            ถนนเพชรเกษม                                          อ่าวไทย    หินขัด  ภาชนะดินเผา  เครื่องประดับที่ท�าจากสัมฤทธิ์
                                                                                            หินคาร์นิเลียน  ในเขตภูเขาทางทิศตะวันตก  และใน
                                                                                            ที่ราบลุ่มแม่น�้าเพชรบุรี
                                                                                                 พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ชุมชนในแถบลุ่มแม่น�้า

                                                                                            เพชรบุรี  เช่นเดียวกันกับที่อื่น  อยู่บนเส้นทางการค้า
                                                    เพชรบุรี                                ระหว่างชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การรับ
                                                                                            วัฒนธรรมอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
                                                                                            เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่เรียกว่า  “วัฒนธรรมทวารวดี”
                                                                                            ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการชุมชนในที่ราบลุ่ม
                                         แม่นํ้าเพชรบุรี                                    แม่น�้าเพชรบุรี
                                                                                                 ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๙ เพชรบุรี

                                                                                            เป็นเมืองท่าค้าขาย  เช่นเดียวกับเมืองราชบุรี  ซึ่งเป็น
                                                                                            เมืองร่วมสมัยกัน  พบหลักฐานเครื่องถ้วยจีน  และ
                                                                                            เศษภาชนะดินเผาของจีน ที่มีอายุตั้งแต่สมัยห้าราชวงศ์
                                                                                            จนถึงราชวงศ์สุ้ง หยวน และเหม็ง ในช่วงพุทธศตวรรษ
                                                                                            ที่ ๑๘ สมัยเขมรโบราณเรืองอ�านาจ รูปแบบการสร้าง
                                                                                            ก�าแพงเมือง-คูเมืองเพชรบุรี  ได้รับอิทธิพลมาจาก
                                                                                            วัฒนธรรมเขมรโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยม สร้างบนสองฝั่ง
                                           ถนนเพชรเกษม                                      ของแม่น�้าเพชรบุรี และยังคงปรากฏหลักฐานพระปรางค์

                                                                                            วัดก�าแพงแลง  และในจารึกปราสาทพระขรรค์ของ

                                                                                            พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ปรากฏนามเมือง “ศรีชัยวัชรบุรี”
                                                                                            หมายถึงเมืองเพชรบุรีในปัจจุบัน
                                                                                                 สมัยสุโขทัย  เมืองเพชรบุรียังคงเป็นเมืองที่มี
                                                                                    N       ความส�าคัญในด้านการค้ากับต่างประเทศ  มีปรากฏ
                                                                                            หลักฐานกล่าวถึงเมืองเพชรบุรีในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า
              12 ํ 47’ N
              99 ํ 45’ E                                                          1.5 km.   “...เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ
                                                                                            ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว...”

              เมืองเพชรบุรี                                                        13 ํ 07’ N  ข้อความในจารึกแสดงให้เห็นว่าเมืองเพชรบุรีน่าจะมีฐานะ
              อ�ำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี                                         99 ํ 58’ E
                                                                                            และความส�าคัญใกล้เคียงกับเมืองต่างๆ  ที่กล่าวถึง
                                                                                            ในสมัยอยุธยา  เมืองเพชรบุรีอยู่ในฐานะเมืองจัตวา
                                                                                            เป็นเมืองท่าส�าคัญ  ชุมทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองใน
                                                                                            ลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยากับหัวเมืองปักษ์ใต้ชายทะเล รวมถึง
                                                                                            การเดินทางต่อจากกุยบุรี คลองวาฬ เข้าไปยังเมืองท่าฝั่ง
                                                                                            ตะวันตก คือ เมืองมะริด เส้นทางที่ผ่านเมืองเพชรบุรี
                                                                                            เป็นทางหลักที่ใช้กันมาแต่โบราณ  เนื่องจากปรากฏ
                                                                                            หลักฐานในเอกสารจีน กล่าวถึงเส้นทางข้ามคาบสมุทร

                                                                                            มลายูทางตอนเหนือที่เริ่มต้นจากมะริด ตะนาวศรี แล้ว
                                                                                            ข้ามทิวเขาตะนาวศรีมายังฝั่งตะวันออกผ่านเมืองเพชรบุรี
                                                                                            เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในที่ราบเจ้าพระยา






              13 ํ 05’ N
              99 ํ 56’ E



           308 308  l
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327