Page 346 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 346

โบราณวัตถุจ�านวนมากพบที่บริเวณ
             อ�าเภอยะรัง ในลุ่มน�้าปัตตานีโดยกรมศิลปากร
             เป็นซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกัน
             ๓ เมือง มีซากโบราณสถานปรากฏไม่น้อยกว่า
             ๔๐ แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับ
             การขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้เป็นหลักฐานแสดงถึง
             ความเป็นเมืองท่า ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทาง
             พุทธศาสนาในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
             ก่อนการเข้ายึดครองของกลุ่มมุสลิม และเป็น
             เขตขัณฑสีมาของไทยมาโดยตลอด
                   เมืองโบราณยะรัง  ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม
             แม่น�้าปัตตานีตรงส่วนที่เป็นเดลต้าเก่าในช่วง
             เวลาที่ชายฝั่งทะเลเว้าลึกเป็นอ่าวเข้ามาตามลุ่ม
             น�้าใกล้บริเวณที่ตั้งเมือง ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็น
             เมืองคูคลองและก�าแพงเมือง-คูเมือง เรียงต่อกัน
             ในแนวเหนือ-ใต้ ๓ เมือง คือ เมืองโบราณ
             บ้านวัด เมืองโบราณบ้านจาเละ และเมืองโบราณ
             บ้านประแว  การขุดส�ารวจของกรมศิลปากร                                        อ.เมืองปัตตานี
             เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ พบโบราณวัตถุและซากอาคาร                                                              เมืองปัตตานี
             ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ และเชื่อกันว่าเมือง
             ยะรังน่าจะเป็นเมืองที่ภิกษุสงฆ์จีนอี้จิงหยุดพัก
             บนเส้นทางไปแสวงธรรมที่ประเทศอินเดีย
                                                  อ.หนองจิก                           แม่นํ้าปัตตานี
















             เมืองปัตตานี

                   ในสมัยอยุธยาเมืองปัตตานีมีฐานะ
             เป็นเมืองประเทศราชฝ่ายใต้ ตั้งแต่รัชสมัย
             สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในสมัย
             พระรามาธิบดีที่  ๒  โปรตุเกสเข้ายึดครอง                                                            อ.ยะรัง
             มะละกา และได้แผ่อิทธิพลทางการค้ามาทาง
             เหนือของคาบสมุทรมลายูท�าให้เมืองปัตตานี

             เป็นเมืองชายฝั่งทะเล  สถานีการค้าหลัก
                                                                                                           เมืองยะรัง
             แห่งหนึ่งในสมัยนั้น และยุยงให้หลายเมือง                                                      “โฟชิ” “โพธิ”
             รวมทั้งปัตตานีเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยา
             จนต้องใช้ก�าลังเข้าปราบปรามตลอดมาจนสิ้น
             สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
                   ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ
             พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแผ่พระราช
             อ�านาจถึงหัวเมืองทางแหลมมลายูซึ่งยอม
             สวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม และในรัชกาล

             ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
             ปัตตานีมีฐานะเป็นมณฑลทางใต้ในราช
             อาณาจักรสยาม และยุบมาเป็นการปกครอง
             ในรูปแบบจังหวัดมาตั้งแต่สมัยพระบาท  06 ํ 25’ N
             สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน  101 ํ 07’ E



          332 332   l
   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351