Page 6 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 6

ประวัติศาสตร์   ม. ๓  หน่วยการเรียนที่ ๓   ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ                      ๕


               ด้านกวีและวรรณกรรม

               ๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               ๒. หม่อมราโชทัย ( ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร )แต่ง นิราศลอนดอน จดหมายเหตุเรื่องราชทูตไทยไปเมืองลอนดอน

               ๓. พระยาอิศรานุภาพ   แต่ง พระสุธนค าฉันท์ อุเทนค าฉันท์
               ๔. หลวงจักรปราณี ( ฤกษ์ )  แต่ง นิราศพระปฐม นิราศพระปถวี นิราศทวาราวดี

               ๕. หม่อมเจ้าอิศรญาณ แต่งเพลงยาวเจ้าอิศรญาณ หรือที่นิยมเรียกว่า ภาษิตอิศรญาณ


               ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

                           นโยบายการเปิดประเทศของรัชกาลที่ ๔ น าประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคใหม่ ท าความเข้าใจด้านภาษาและ

               วัฒนธรรมของชาวตะวันตก ปรับปรุงวัฒนธรรมประเพณีของไทยที่ชาวต่างชาติ ดูถูกเหยียดหยาม ขจัดอุปสรรค
               ทางการค้าขายกับชาติตะวันตก             สืบเนื่องมาจากการสนธิสัญญาเบาว์ริง พระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษได้

               ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring ซึ่งเป็นผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาท า

               การค้ากับไทย การเจรจาอันส าคัญยิ่ง ในประวัติศาสตร์ได้เริ่มขึ้น ในเดือนเมษายน ๒๓๙๘
               การแต่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

               ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

               พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ

               ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิต

               เป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ โดยขบวน

               เรือของกองทัพฝรั่งเศส



               ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา - ฝรั่งเศส
               ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ การเสียกัมพูชาครั้งนี้ นับเป็นการเสียดินแดนให้กับ

               ฝรั่งเศสครั้งแรกของไทย


               ความสัมพันธ์ระหว่าไทยกับพม่า

               เกิดสงครามตีเมืองเชียงตุง ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๕ – ๒๓๙๖ เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่า











                                                                                      ครูผู้สอน คุณครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11