Page 5 - สมัยประชาธิปไตย
P. 5

ประวัติศาสตร์   ม. ๓    หน่วยการเรียนที่    ๔       ประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย                             ๔


               เสด็จกลับสู่พระนคร ให้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งคณะราษฎร์ได้ร่างขึ้น

               พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕
               คณะราษฎร์ได้น ารัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมและคณะราษฎร์ ได้ร่างขึ้น

               ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
               สยามชั่วคราว ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยแล้ว สภา

               ผู้แทนราษฎรซึ่งตั้งโดยคณะผู้รักษาพระนครฝุายทหาร ได้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจ านวน ๗๐ นาย โดย

               มีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนแรก และพระยามโน
               ปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานกรรมการราษฎร ( นายกรัฐมนตรี ) และเลือกคณะกรรมการราษฎร ( คณะรัฐมนตรี ) ๑๔

               นาย ท าหน้าที่บริหารประเทศ และ เลือกสมาชิกในคณะราษฎร์อีก ๙ นาย ท าหน้าที่ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อ
               ร่างเสร็จแล้วรัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานคืนมาให้เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

               หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วได้มีการตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ โดยมีมหาอ ามาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติ

               ธาดา (นายก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรี จ านวน ๒๐ นาย
               สาระส าคัญของ รัฐธรรมนูญมีดังนี้

                    พระมหากษัตริย์ด ารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ อ านาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย

               พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุข ทรงใช้อ านาจนี้ แต่โดยบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ อ านาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
               คืออ านาจนิติบัญญัติ อ านาจบริหารและอ านาจตุลาการ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อ านาจนิติบัญญัติ โดย ค าแนะน าและ

               ยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ในต าแหน่งคราวละ ๔ ปี มีสมาชิก ๒ ประเภทจ านวนเท่ากันเป็นระยะเวลา ๑๐
               ปี โดยมีสมาชิกประเภทที่ ๑ ได้แก่ สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามา และ ประเภทที่ ๒ ได้แก่สมาชิกที่พระมหากษัตริย์

               ทรงแต่งตั้ง พระมหากษัตริย์ทรงใช้อ านาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่าง

               น้อย ๑๔ นาย อย่างมาก ๒๔ นาย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อ านาจตุลาการ ทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เพื่อ
               พิจารณาพิพากษาอรรถคดี

               หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตยภายใต้การบริหารงานโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้
               เกิดการขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา อันเนื่องมาจากเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้เขียนไว้

               ในสมุดปกเหลืองซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ซึ่งตรงกับพระราชวินิจฉัย

               ในสมุดปกขาวของรัชกาลที่ ๗ รัฐบาลจึงสั่งปิดสภา พระยามโนปกรณ์ฯ ได้ขอร้อง ให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทาง
               ออกไปอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส

                    ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ พระยาพหลพลพยุหเสนา ท าการปฏิวัติแล้วแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีพร้อมกับเชิญ

               หลวงประดิษฐ์มนูธรรม กลับมาช่วยกันบริหารประเทศ ต่อมาสมาชิกของคณะราษฎร์บางคนละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับ
               ประชาชน รัฐบาลปล่อยให้ประชาชนฟูองร้องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

                    ๒๑ ตุลาคม ๒๔๗๖ “คณะกู้บ้านเมือง” ภายใต้การน าของพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร

                                                                                      ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10