Page 2 - วิธีการทางประวัติศาสตร์
P. 2

ประวัติศาสตร์   ม. ๓หน่วยการเรียนที่ ๑   วิธีการทางประวัติศาสตร์                  ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย   1


                                                    วิธีการทางประวัติศาสตร์

              ความหมายของประวัติศาสตร์
                     ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แม้ว่าอดีตจะเป็นสิ่ง

              ที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่มนุษย์ในอดีตก็ได้ทิ้งร่องรอยและหลักฐานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเพื่อท าความเข้าใจว่าได้เกิด
              เหตุการณ์ใดขึ้นบ้างในอดีต สาเหตุที่เกิด รวมทั้งผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นจนท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเรื่อยมา

              จนถึงปัจจุบัน


              การศึกษาประวัติศาสตร์

                     การกระท าต่างๆของมนุษย์ล้วนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีต มนุษย์ในอดีตเริ่มศึกษา
              ประวัติศาสตร์ด้วยความอยากรู้อยากเห็น มีความสงสัยและต้องการค้นหาความจริงในอดีต เพื่อท าความเข้าใจกับ

              เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และได้พบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมักจะมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่เกิด

              ติดตามมาภายหลัง นักประวัติศาสตร์จึงต้องให้ความส าคัญกับการก าหนดช่วงเวลาของเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ เพื่อ
              จะระบุให้ชัดเจนได้ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดทีหลัง และเหตุการณ์เหล่านั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

              อย่างไร หรือสืบเนื่องโยงกับความเป็นไปในปัจจุบันหรือไม่และอย่างไรดังนั้น การก าหนดยุคสมัยและปีศักราช จึงเป็น

              สิ่งจ าเป็นในการศึกษาประวัติศาสตร์
                     การศึกษาประวัติศาสตร์ไม่เพียงแต่จะให้ความส าคัญกับการรับรู้เนื้อหาความรู้จากประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่

              ควรจะให้ความสนใจต่อหลักฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ หากเราได้สอบสวนค้นคว้าให้รู้ถึงต้นตอตลอดจน
              ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ก็อาจหาค าตอบให้กับข้อสงสัยของตัวเองได้ และอาจสร้างความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่สังคมหรือ

              โลกได้ด้วย การศึกษาประวัติศาสตร์กาจะมีชีวิตชีวา ท้าทายให้ค้นคว้าและวิเคราะห์หาความจริงให้กว้างขวางต่อไป


              ความส าคัญของประวัติศาสตร์

                     ๑. ประวัติศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยงกาลเวลาต่าง ๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน โดยใช้บทเรียนใน
              อดีตมาเป็นประสบการณ์ท าความเข้าใจในปัญหาและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในปัจจุบัน พร้อมทั้งทิศทางสู่อนาคตด้วย

              ความมั่นใจ

                     ๒. ประวัติศาสตร์สอนให้มนุษย์รู้จักตนเองและสังคมมากขึ้น การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท าให้รู้ปัจจัยเบื้องหลัง
              พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ รู้จุดอ่อน จุดแข็ง ของตนเองและผู้อื่น ท าให้รอบรู้และเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายและ

              รวดเร็ว เกิดความได้เปรียบในการเจรจาติดต่อดังเช่น ต าราพิชัยสงครามซุนหวู่ของจีน กล่าวว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง

              ชนะร้อยครั้ง” ซึ่งในปัจจุบันยุทธศาสตร์นี้ได้ถูกน ามาประยุกต์ใช้ทั้งในเชิงธุรกิจ การทูต และการเมือง
                     ๓. การเรียนรู้อดีตช่วยให้เข้าใจปัญหาต่างๆ ในสังคมปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้น คนที่มีความรู้ทาง

              ประวัติศาสตร์ของสังคมหนึ่ง ก็ย่อมจะสามารถจัดการกับปัญหาในสังคมนั้นได้ดีกว่าคนที่มีไม่เคยรับรู้ประสบการณ์จาก

              อดีตเลย
                     ๔. ประวัติศาสตร์สอนให้คิดอย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติ การฝึกฝนให้รู้จักชั่ง

              น้ าหนักความน่าเชื่อถือของหลักฐานข้อมูล เป็นการสร้างความสุขุมรอบคอบ ความมีวิจารณญาณและความเที่ยงธรรม
   1   2   3   4   5   6   7