Page 4 - วิธีการทางประวัติศาสตร์
P. 4

ประวัติศาสตร์   ม. ๓หน่วยการเรียนที่ ๑   วิธีการทางประวัติศาสตร์                  ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย   3


                     หลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลส าคัญที่นักประวัติศาสตร์สามารถน ามาใช้ในการสืบค้นเรื่องราว

              ต่างๆ ในอดีต งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ จะพิจารณาจากเวลาที่เริ่มมีหลักฐานประเภทลายลักษณ์เป็นจุดแบ่ง แต่ก็
              ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาอดีตในยุคประวัติศาสตร์จะใช้เฉพาะหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์เท่านั้น การใช้หลักฐาน

              อย่างกว้างขวางจะช่วยให้งานศึกษาประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
                     ส าหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยนั้น งานเขียนประวัติศาสตร์ไทยเมื่อแรกเริ่มนั้นจารึก ต านานพงศาวดาร

              ซึ่งมีลักษณะการบันทึกแบบบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของศาสนาและพระมหากษัตริย์จนถึงสมัยสมเด็จ

              พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้รับแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์แบบตะวันตก ที่ให้ความส าคัญในการตรวจสอบ
              หลักฐาน และปล่อยให้หลักฐานบอกความหมายของตัวเอง เป็นพัฒนาการอีกระดับหนึ่งจากการบอกเล่าแบบ

              พงศาวดาร แต่ในด้านเอกสาร หลักฐานยังเน้นที่การเปรียบเทียบพงศาวดารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง
              โดยเน้นความส าคัญของเมืองและศูนย์รวมอ านาจ

                     ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยขยายขอบเขตจากประวัติศาสตร์การเมืองไปศึกษาประวัติศาสตร์

              เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์สังคม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกันมากขึ้น เป็นความพยายามขยายการศึกษาทุกแง่ทุกมุมใน
              พฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต จึงมีการใช้หลักฐานใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์มาก่อน เช่น วรรณกรรม จิต

              กรรม ภาพถ่าย และค าบอกเล่า ท าให้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และการท ามาหากินของประชาชนชัดเจนขึ้น

              โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ขยายประวัติศาสตร์ที่เคยมองแต่ราชธานีออกไปยังชนบทอย่างทั่วถึง โดยใช้
              หลักฐานใหม่ๆ เช่น ภาษาและ วรรณกรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมพื้นเมือง เพลงพื้นบ้าน การใช้หลักฐานที่หลากหลายยิ่งขึ้น

              ท าการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาอื่น ๆ มากขึ้นด้วย เช่น ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์
              โบราณคดีและธรณีวิทยา เป็นต้น



                                      หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวิธีการทางประวัติศาสตร์


              ๑. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือ ร่องรอยที่มนุษย์ได้กระท าไว้ และหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ส่วนกระบวนการในการ

              แสวงหาข้อเท็จจริง เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
              ๒. วิธีการทางประวัติศาสตร์

                        (๑) เป็นวิธีที่จะท าให้เรื่องๆ หนึ่งนั้นเป็นประวัติศาสตร์ ที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด

                        (๒) ความน่าเชื่อถืออยู่ที่หลักฐาน มายืนยัน + มาอ้างอิง เท่าที่พบ ถ้าพบหลักฐานอื่นที่ดูว่าน่าจะ เป็นอย่างนั้น
              มากกว่าก็อาจท าให้เรื่องราว “พลิก” ไปได้

                        * ดังนั้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เรารู้อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ *
              ๓. ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

                         ขั้นที่ ๑ ก าหนดประเด็นปัญหา เป็นการก าหนดหัวข้อที่เราสนใจจะศึกษา

                         ขั้นที่ ๒ รวบรวมหลักฐาน(ไปหาต าราต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษา)
                         ขั้นที่ ๓ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

                                       - การประเมินค่าภายนอก (การวิพากษ์ภายนอก) : ดูว่าหลักฐานจริงหรือปลอม

                                       - การประเมินค่าภายใน (การวิพากษ์ภายใน) : ดูว่าหลักฐานน่าเชื่อถือได้มาก แค่ไหน
                         ขั้นที่ ๔ ตีความหลักฐาน
   1   2   3   4   5   6   7   8