Page 3 - วิธีการทางประวัติศาสตร์
P. 3

ประวัติศาสตร์   ม. ๓หน่วยการเรียนที่ ๑   วิธีการทางประวัติศาสตร์                  ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย   2


              ล าดับความส าคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

                     การตรวจสอบและประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จ าเป็นต้องหาวิธีการที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติจึงมี
              การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานออกเป็น ๒ อันดับ คือ

                     1.  หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources)  คือหลักร่วมสมัยที่บันทึกไว้โดยผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือเป็นผู้รู้เห็น
              เหตุการณ์ด้วยตัวเอง

                     2.  หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources)  คือหลักฐานที่บันทึกขึ้นภายหลังเหตุการณ์โดยการฟังค าบอก

              เล่าของบุคคลอื่น หรือค้นคว้าจากหลักฐานชั้นต้นเพิ่มเติม
                     การแบ่งหลักฐานออกเป็นชั้นต้นและชั้นรองก็เพื่อประโยชน์ในการประเมินความน่าเชื่อถือ

              ของหลักฐาน เพราะหลักฐานที่บันทึกโดยผู้อยู่ในเหตุการณ์ รู้เห็นข้องเท็จจริงมาด้วยตนเอง ย่อมน่าเชื่อถือกว่าการรับรู้
              จากผู้อื่น เรื่องราวที่บันทึกขึ้นในสมัยเดียวกันก็ย่อมจะน่าเชื่อถือกว่าเรื่องที่บันทึกหลักเหตุการณ์นับร้อยปีอย่างไรก็ตาม

              ยังไม่ควรจะด่วนเชื่อเช่นนั้นทันทีเพราะหลักฐานชั้นต้นก็อาจจะให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนได้เช่นกันผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

              อาจจะบันทึกผิดพลาดจากความเป็นจริงได้ เพราะความไม่เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริงหรืออาจจงใจปกปิดบิดเบือนความ
              จริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนหรือพรรคพวก หรืออาจมีจุดประสงค์จะสรรเสริญผู้เป็นนาย ปัดความผิดให้ผู้อื่น

              ในทางตรงกันข้าม หลักฐานชั้นรองที่บันทึกภายหลังโดยบุคคลนอกเหตุการณ์ อาจจะเสนอเรื่องราวด้วยความเป็นกลาง

              และให้ความจริงที่ถูกต้องน่าเชื่อถือกว่าก็ได้


              ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                     หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

                     1.  หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ มนุษย์ในแต่ละสังคมได้ทิ้งหลักฐานที่เป็น

              ตัวหนังสือประเภทต่างๆ ไว้มากมาย บนแผ่นศิลา โลหะ ใบลาน กระดาษ หรือผ้าไหม หลักฐานลายลักษณ์ของไทย เช่น
              จารึก ต านาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจ า หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย จดหมาย เอกสารราชการ

              งานวรรณกรรม เละงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
                     2.  หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์  หมายถึง หลักฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลงานที่

              มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและหลงเหลือตกทอดมาตามกาลเวลา หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และ

              หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่
                       หลักฐานทางโบราณคดี  ได้แก่ โบราณสถาน เช่น พระราชวัง วัด เจดีย์ ก าแพงเมือง คูเมือง และ

                 โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินหรือเปลือกหอย เป็นต้น

                       หลักฐานทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น จิตกรรม ประติมากรรม ปราสาทหิน ปราสาทราช
                 มณเฑียร เรือนไทย พระพุทธรูป เจดีย์ เป็นต้น

                หลักฐานทางนาฏกรรมและดนตรี เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ละคร ดนตรี เป็นต้น

                หลักฐานจากขนบธรรมเนียมประเพณีและคติความเชื่อของชนกลุ่มต่าง ๆ
                   หลักฐานจากค าบอกเล่า ที่ถ่ายทอดหรือเล่าสืบต่อกันมาและการสัมภาษณ์สอบถามจากบุคคลทั่วไป

                หลักฐานประเภทโสตทัศน์ เช่นภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศแผนที่ ภาพยนตร์
   1   2   3   4   5   6   7   8