Page 8 - NUT
P. 8
สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำาปีการศึกษา ๒๕๖๐ [ปากตลาด เล่มที่ ๑๔]
โครงการหลวงแม่ลาน้อย ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือ
และพัฒนาอาชีพให้ชาวเขาในพื้นที่แม่ลาน้อย เพราะในอดีต
ชาวเขาในพื้นที่นั้นนิยมปลูกฝิ่น ท�าไร่เลื่อนลอย ท�าลายป่าไม้กัน
เป็นจ�านวนมาก โครงการหลวงแม่ลาน้อยจึงมีขึ้นเพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตของชาวเขาทั้งในด้านสังคม การศึกษา และ
สาธารณสุข เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง รู้จักพัฒนาบริหาร
จัดการและอนุรักษ์ธรรมชาติในชุมชนมีทักษะในการประกอบ
อาชีพ
โครงการหลวงจึงเป็นศูนย์พัฒนาการเกษตร โดยมีการพัฒนาแปลงผักปลอดสารพิษ เพื่อใช้ปลูกพืช ปลูกไม้
เมืองหนาว และท�าไร่กาแฟให้บุคคลทั่วไปได้เที่ยวชม นอกจากมีให้เที่ยวชมแปลงผักแล้ว ยังมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของ
นาข้าวขั้นบันได และโฮมสเตย์บ้านห้วยห้อม ที่เป็นหมู่บ้าน
กลางขุนเขาอีกด้วย
โครงการหลวงแม่ลาน้อยแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด
๑๔ หมู่บ้าน ประกอบด้วยชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าลั๊วะ
ซึ่งที่แห่งนี้ยังมีการใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียง นับเป็นการเสริมสร้างจิตส�านึกให้แก่เกษตรกรให้
อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้
ไม่ไกลจากโครงการหลวงแม่ลาน้อยยังสามารถท่องเที่ยว
เชิงนิเวศที่บ้านห้วยห้อม ชมแปลงกาแฟอาราบิก้า พร้อมชิม
กาแฟสด ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากบ้านห้วยห้อม สวนกาแฟที่
ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร ส่งจ�าหน่าย
ให้กับโครงการหลวง และสตาร์บัคส์ และยังสามารถรับชม
การทอผ้าขนแกะของกลุ่มแม่บ้านห้วยห้อม มีทั้งผ้าทอขนแกะล้วน
และผ้าทอขนแกะผสมฝ้ายที่ย้อมสีจากธรรมชาติ ผู้เขียนคิดว่า
โครงการนี้ยังเป็นอีกหนึ่งโครงการดี ๆ ที่ช่วยสร้างรายได้และ
อาชีพให้กับคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่เพียงแต่
ส่งเสริมเพียงด้านการเกษตรเท่านั้น นอกจากนี้ชาวบ้านใน
พื้นที่ยังสามารถต่อยอดให้พื้นที่ของโครงการมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้นยิ่ง ท�าให้ผู้คนไม่ว่าจะคนไทยหรือชาวต่างชาติอยากมา
สัมผัสที่นี่ และที่นี่ยังมีผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพส่งออกทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
ของไทยอีกด้วย ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://royalprojectthailand.com/
{ 4 }