Page 12 - NUT
P. 12
สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำาปีการศึกษา ๒๕๖๐ [ปากตลาด เล่มที่ ๑๔]
หลักการท�า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ตามแนวพระราชด�าริ
การท�าเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการท�าการเกษตร
ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร
โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ
๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน�้า เพื่อใช้เก็บกักน�้าฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น�้า
และพืชน�้าต่างๆ สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน�้า เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าว
ในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจ�าวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ ส�าหรับ
พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจ�าวัน
หากเหลือจากการบริโภคก็น�าไปจ�าหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ
(ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน
เป็นต้น)
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ ตามหลัก
ปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในหน้าแล้งมีน�้าน้อยก็สามารถเอาน�้าที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น�้าน้อยได้
โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทานในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน�้าตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้สามารถ
พออยู่พอกินจนถึงร�่ารวยขึ้นได้
ผู้เขียนคิดเห็นว่า ในปัจจุบันนี้ได้มีการน�าเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปท�าการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษา
การพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ด�าเนินการจัดท�าแปลงสาธิต จ�านวน
๒๕ แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการด�าเนินงานให้มีการน�าเอา
ทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
ผู้เขียนเห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทย
และประชาชนชาวไทย ทั้งยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกได้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง
สามารถน�าไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคง ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ
ผู้เขียนได้พบประโยชน์จากเศรษฐกิจพอเพียง ท�าให้ประชาชนอยู่อย่างพอกินในระดับที่ประหยัด สามารถเอาน�้าที่
เก็บใช้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน ผู้เขียนจึงอยากสนับสนุนโครงการนี้ให้ประชาชน
ชาวไทยได้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและมีชีวิตที่พอเพียงอย่างพอเพียงในระยะยาว
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
www.tangnamo.com
{ 8 }