Page 14 - NUT
P. 14
สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำาปีการศึกษา ๒๕๖๐ [ปากตลาด เล่มที่ ๑๔]
เมื่อโครงการฝนหลวงประสบความส�าเร็จก็ได้ท�าประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างมาก นอกจากจะแก้ปัญหา
ภัยแล้งได้แล้ว ยังช่วยบ�าบัดทุกข์บ�ารุงสุขให้แก่ประชาชน ทั้งนี้การท�าฝนหลวงยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย ทั้งใน
ด้านการเกษตร ด้านการอุปโภค บริโภค ฯลฯ ซึ่งการท�าฝนหลวงได้ช่วยตอบสนองภาวะความต้องการน�้ากิน น�้าใช้
ที่ทวีความรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถ
อุ้มซับน�้าได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน�้าได้ดีเท่าที่ควร ด้านการเพิ่มปริมาณน�้าในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิต
กระแสไฟฟ้า เนื่องจากบ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้
ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ โดยระดับน�้าเหนือเขื่อนมีระดับต�่ามากจนไม่เพียงพอต่อการใช้
พลังงานน�้าในการผลิตกระแสไฟฟ้า การท�าฝนหลวงจึงมีความส�าคัญในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน เป็นต้น
ทั้งนี้จากประโยชน์นานัปการของโครงการฝนหลวง อันเกิดจากพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอัน
ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงค�านึงถึงประโยชน์ทุกข์สุขของราษฎรชาวไทยเสมอมานั้น
การขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาแห่งฝนหลวง” จึงเป็นการแสดงความร�าลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่
ที่จะคงอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน
โครงการฝนหลวงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการพระราชด�าริกว่าสี่พันโครงการ ที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงงานหลายแขนง เกินกว่าที่จะบรรยายได้หมด ทั้งที่ได้ทรงท�าหรือให้เป็นตัวอย่างนั้น
ล้วนเป็นศาสตร์พระราชาที่คนไทยทุกคนสามารถน�าไปปฏิบัติใช้ได้ วิธีการของศาสตร์พระราชา คือการเข้าใจในความ
เป็นไปของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ และปัญหาของพสกนิกรที่มีปัญหาการขาดแคลนน�้า
การเข้าถึงคือการที่เสด็จพระราชด�าเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร จึงได้ทรงทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และ
การพัฒนาโดยการเริ่มท�าโครงการและค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และ
วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับ
ทั้งในและต่างประเทศ จนเมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท�าการทดลองปฏิบัติการจริง
ในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก และเป็นชื่อเรียกของโครงการฝนหลวงจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
ประโยชน์หลักในการท�าโครงการฝนหลวงคือเพื่อแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน�้าของเกษตรกรในช่วงภาวะหน้าแล้งได้
เป็นอย่างดี
“ฝนหลวง” ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบายน�้าเสียและขยะมูลฝอยลงสู่แม่น�้าเจ้าพระยา
ปริมาณน�้าจากฝนหลวงจะท�าให้ภาวะมลพิษจากน�้าเสียเจือจางลง ศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
รัชกาลที่ ๙ น�ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง โดยเริ่มจากการท�าด้วยความปรารถนาที่จะให้ด้วยใจ โดยโครงการตัวอย่าง
มีมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ ที่จะน�ามาเป็นแบบอย่างได้ ทั้งนี้อันจะเกิดผลลัพธ์ของศาสตร์พระราชา คือความสุขแห่ง
มหาชนชาวสยาม ตามพระปฐมบรมราชโองการพออยู่พอกิน และรู้รักสามัคคี อันเป็นการประยุกต์ใช้และพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
https://sites.google.com/site/thekhnoloyisansnthes1/home/prawati-khwam-pen-ma-fn-hlwng
{ 10 }