Page 22 - ภัมภีร์กศน.
P. 22

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษาในระบบ

                 วัตถุประสงค์

                 1) ถ่ายทอดหรือปลูกฝัง เนื้อหา ความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสม
          เพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาวางตัวได้เหมาะสมในสังคม และมีความสามารถ
          ประกอบอาชีพตามความถนัด  ความสนใจ  หรือตามโอกาสของแต่ละ

          บุคคล
                 2) เตรียมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีความพร้อมในการเรียนรู้และจัด
          ให้เด็กในวัยเรียน ได้รับการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และพัฒนาตนเองต่อเนื่อง

         เพื่อให้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย เชาวน์ปัญญา ความสนใจที่เหมาะสม
         มีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป
                 3) เพื่อพัฒนาเด็กในวัยเรียนทุกระดับให้ได้รับการศึกษา  เพื่อ

         ประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวระดับพื้นฐาน  และเพื่อมีความรู้  ความ
         สามารถในการประกอบอาชีพการงานต่อไป

                 4) ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาระดับสูงในเชิง
          คุณภาพ มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสามารถ
          เฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจดำเนินการโดย

          สถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นการวิเคราะห์ วิจัยระดับสูง มุ่งคิดค้นเนื้อหา
          สาระที่แปลกใหม่จากเดิม นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทาง

          เช่น ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นต้น
                 5) พัฒนาศักยภาพของบุคคลเต็มความสามารถและตอบสนอง
          วิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ  เน้นพัฒนากลุ่มเป้าหมายในลักษณะ

          บูรณาการ คือ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา
          คุณธรรม ความคิด ความสำนึก ความรับผิดชอบ ฯลฯ ซึ่งตามปกติเป็น
          หน้าที่ของสถานศึกษา และอาจจัดเสริมเติมในลักษณะฝึกอบรมเฉพาะ

          หรือแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ



               เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27