Page 18 - ภัมภีร์กศน.
P. 18
อายุ 6 ปีขึ้นไป ถึง 22 ปี โดยประมาณ หรือวัยเรียน การศึกษา
ที่ได้รับเป็นหลัก คือ การศึกษาในระบบ อาจจะมีการศึกษานอกระบบบ้าง
สำหรับคนที่ไม่อาจศึกษาในระบบได้และยังคงได้รับการศึกษาจากสังคม
และสิ่งแวดล้อมที่เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยอยู่บ้าง
อายุ 22 ปีขึ้นไป ถึง 60 ปี โดยประมาณ หรือวัยทำงาน การ
ศึกษาที่บุคคลในวัยนี้จะได้รับเป็นหลัก คือ การศึกษาตามอัธยาศัย และ
อาจมีการศึกษานอกระบบบ้าง
อายุ 60 ปีขึ้นไป หรือวัยสูงอายุ การศึกษา การเรียนรู้ที่บุคคล
ในวัยนี้จะได้รับ คือ การศึกษาตามอัธยาศัย และอาจมีการศึกษานอก
ระบบเสริมบ้าง
ตัวอย่างนักการศึกษาตลอดชีวิต
จากความหมายและแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิตดังกล่าว
ข้างต้นจะเห็นว่าเจ้าฟ้านักการศึกษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราช-กุมารี ทรงมีภาพลักษณ์ของนักการศึกษาตลอดชีวิตอย่าง
ชัดเจนที่สุด กล่าวคือ พระองค์ทรงแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา
ทุกรูปแบบ ทั้งการประชุมสัมมนา ทัศนศึกษาทั้งในประเทศ หรือ
ต่างประเทศ ใช้อุปกรณ์การเรียนทุกประเภท นับตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสาร
ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนการแสวงหาความรู้ด้วย
พระองค์เอง ด้านเนื้อหาทรงสนพระทัยที่จะเรียนรู้ทุกเรื่อง ในทุกสถานที่
ด้วยทรงเล็งเห็นว่าสถานที่ทุกแห่งมีความรู้ที่จะให้พระองค์ทรงศึกษา
ทรงแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลทุกระดับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ทรงบันทึกทุกอย่าง ขณะเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงเก็บไว้เป็นข้อมูลใน
การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จึงมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่การฝึกตนให้เป็นคนตื่นตัวต่อการศึกษา มีใจ ใฝ่รู้ใน
สิ่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.