Page 16 - ภัมภีร์กศน.
P. 16

มัธยมศึกษาตอนต้น  มัธยมศึกษาตอนปลาย  และการศึกษาในระดับ
          อุดมศึกษา

                 2.  การศึกษาทางด้านวิชาชีพ ซึ่งมีการจัดอบรมวิชาชีพทั้งระยะ
          สั้นและระยะยาวในหลายสาขาอาชีพแบบมีประกาศนียบัตร  และไม่มี
          ประกาศนียบัตร

                 3.  การให้ความรู้ทั่วไปที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
          ด้วยการอบรมโดยวิทยากร และโดยสื่อต่างๆ
                 การจัดกิจกรรมจะมีความยืดหยุ่นในเรื่องกฎ ระเบียบต่าง ๆ โดย

          รับผู้เรียนไม่จำกัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ความสนใจ มีความ
          ยืดหยุ่นในเรื่องเวลาเรียน สถานที่เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ มุ่งสนอง
          ความต้องการของผู้เรียนในแต่ละชุมชนและสังคม การเรียนรู้ไม่จำเป็น

          ต้องเกิดขึ้นที่สถานศึกษา ไม่จำกัดเวลา โดยมีการวัดและประเมินผลตาม
          สภาพจริงและพัฒนาการของผู้เรียน


          ช่วงระยะเวลาของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
                 การศึกษาตลอดชีวิตเป็นรูปแบบของการศึกษาที่เกิดขึ้น

          ตลอดชีวิต นับตั้งแต่วัยแรกเกิดจนกระทั่งสิ้นชีวิต  ที่ครอบคลุมการจัด
          การศึกษา  3  รูปแบบ  คือ  การศึกษาในระบบ  (Formal  Education)

          ที่มีโครงสร้างชัดเจนแน่นอน มีการแบ่งชั้นเรียนตามอายุ จัดการเรียน
          การสอนตามลำดับชั้น  มีหลักสูตร  เวลาเรียนที่แน่นอน  มีการวัดผล
          ประเมินผลเพื่อรับประกาศนียบัตร การศึกษานอกระบบ (Non-Formal

          Education) ที่มีการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ มีกระบวนการจัดการ
          เรียนรู้ที่ยืดหยุ่น  สอดคล้องกับสภาพความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
          ที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนรู้เรื่องที่เป็นสภาพปัจจุบัน เพื่อการแก้

          ปัญหาชีวิตประจำวัน มีเวลาเรียนที่ยืดหยุ่น และการศึกษาตามอัธยาศัย



         0     เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21