Page 11 - ภัมภีร์กศน.
P. 11
สรุป
จากความหมายของการศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของ “การเรียนรู้” โดยเป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา
และมีนัยของ “การจัดการ” อยู่ด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ในทาง
ที่เป็นการพัฒนาจะทำให้เกิดการศึกษาขึ้นได้ แต่การศึกษามิได้ก่อให้เกิด
การเรียนรู้เสมอไป เช่น ผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเองจนมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ
อย่างแท้จริง ก็สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเทียบเข้าสู่ระบบการศึกษาได้
ในขณะที่ผู้ที่เรียนจบการศึกษาตามหลักสูตร อาจจะไม่เกิดการเรียนรู้
ในเรื่องที่ได้รับการศึกษามาก็ได้ ดังที่เราพบว่า ผู้ที่จบการศึกษาบางคน
ไม่เกิดการเรียนรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การศึกษา
อาจมีความหมายทั้งนัยของการที่มีผู้ “จัดการ” ให้บุคคลได้รับการศึกษา
เช่น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอมีหน้าที่จัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และนัย
ของการที่บุคคลศึกษาด้วยตนเอง เช่น พ่อคำเดื่อง ภาษี ได้เรียนรู้และ
ศึกษาเรื่องเกษตรธรรมชาติด้วยตนเอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น
ปราชญ์ชาวบ้าน
ผู้เรียบเรียง ประวีณ รอดเขียว หน่วยศึกษานิเทศก์
เอกสารและแหล่งอ้างอิง
http://portablezone.exteen.com/20060721/firmware
http://ampnattamon.multiply.com/journal/item/36
http://gotoknow.org/blog/islamed/86443
http://library.uru.ac.th/webdb/images/wave.html
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.