Page 15 - ภัมภีร์กศน.
P. 15
ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งให้บุคคลได้พัฒนาตนให้ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพ โดยบุคคลนั้นจะต้องมี
แรงจูงใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
โดยสรุปการศึกษาตลอดชีวิต เป็นการจัดเตรียมกระบวนการ
หรือประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เป้าหมายและแนวคิดสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต
1. เพื่อให้บุคคลพัฒนาเติมเต็มตามขีดความสามารถของตนเอง
และเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมที่ตนอาศัยอยู่
2. เป็นการศึกษาทั้งชีวิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย
3. บุคคลมีอิสรภาพที่จะเลือกเรียนรู้จากการศึกษารูปแบบต่าง ๆ
ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับตนเอง
4. มุ่งพัฒนาให้บุคคลได้พัฒนาตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
โลกเพื่อการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
5. การศึกษาที่จัดให้แก่ทุกกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ
6. การจัดการศึกษาที่บริการให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกคนในแต่ละ
ช่วงวัย ตลอดชีวิต
7. การจัดกิจกรรมการศึกษาที่ต่อเนื่อง สอดคล้องกับชีวิตจริง
8. การจัดกิจกรรมการศึกษาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่
ได้รับนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการดำเนินชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับการ
เปลี่ยนแปลง
รูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต
1. การศึกษาวิชาสามัญ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสอนอ่านเขียน
เพื่อการอ่านออกเขียนได้ การศึกษาที่เทียบเท่าระดับประถมศึกษา
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.