Page 14 - ภัมภีร์กศน.
P. 14
ตั้งแต่การศึกษาสำหรับเด็กไปจนถึงการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่อย่างเป็น
กระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต
สุมาลี สังข์ศรี (2543) กล่าวว่า การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง
ภาพรวมของการศึกษาทุกประเภทที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่
เกิดจนตาย เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลให้ปรับตัวเข้ากับความ
เปลี่ยนแปลงในทุกช่วงชีวิตของบุคคลและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็ม
ศักยภาพของแต่ละบุคคล การศึกษาตลอดชีวิตครอบคลุมการศึกษา
ทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
แบบไม่เป็นทางการจากทุกแหล่งความรู้ในชุมชนและสังคม และเกิดขึ้นได้
ทุกที่ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาที่
สัมพันธ์กับชีวิตและผสมผสานกลมกลืนกับการดำเนินชีวิตของบุคคล
สุนทร สุนันท์ชัย (2548) กล่าวว่า การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการ
ศึกษาทั้งหมดของชีวิตมนุษย์จากเกิดจนตาย มุ่งพัฒนามนุษย์ให้ปรับตัวเข้า
กับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพ
ของบุคคลแต่ละคน เป็นการศึกษาที่เกิดจากแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วย
ตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ และไม่เป็นทางการ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 4 กำหนดความหมายของการ
ศึกษาตลอดชีวิตว่า เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการ
ศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้
สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จากความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตที่กล่าวมาข้างต้น
สามารถสรุปความหมายได้ว่า การศึกษาตลอดชีวิต เป็นกระบวนการ
ศึกษาที่มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคล ในรูปแบบของการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.