Page 13 - ภัมภีร์กศน.
P. 13

Education” ซึ่งจัดโดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2507 หลังจากนั้นการศึกษา
             ตลอดชีวิตได้กลายมาเป็นแนวความคิด และแนวทางที่มีความหมายและ

             สำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาในลักษณะของการผสมผสานสัมพันธ์
             กับทรัพยากรทางการศึกษา และวิถีชีวิตของคนในชุมชนจนเป็นหนึ่งเดียว

             ยังผลให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

             การศึกษาตลอดชีวิตคืออะไร

                     เอ็ดการ์  แฟร์  (Edgar  Faure,  1972)  อดีตรัฐมนตรีว่าการ
             กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศฝรั่งเศสและคณะ ได้ให้ความหมายของการ

             ศึกษาตลอดชีวิตว่าการศึกษาตลอดชีวิตไม่ใช่ระบบการศึกษาแต่อย่างใด

             หากเป็นแม่บทของการศึกษา  โดยรวมการศึกษาแต่ละแบบมาจัดให้มี
             ความต่อเนื่อง ผสมผสาน และเสริมซึ่งกันและกัน
                     อาร์ เอช เดฟ (R.H. Dave, 1976) นักการศึกษาให้ความหมาย

             ของการศึกษาตลอดชีวิตว่าเป็นแนวคิดที่พยายามมองการศึกษาในภาพรวม
             ซึ่งรวมการศึกษาในระบบ (Formal Education) การศึกษานอกระบบ

             (Non-Formal  Education)  และการศึกษาตามอัธยาศัย  (Informal
             Education) ให้มีการประสานสัมพันธ์ทั้งในด้านของความต่อเนื่องของ

             เวลา (ช่วงชีวิตคน) และเนื้อหาสาระที่คนต้องนำความรู้ไปใช้ การศึกษา
             ตลอดชีวิตจะต้องมีลักษณะที่ยืดหยุ่นในด้านเวลา สถานที่ เนื้อหา และ

             เทคนิคการเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้มีหลายรูปแบบและหลาย
             วิธีการ

                     ยูเนสโก (UNESCO, 1970) ได้ให้ความหมายของการศึกษา
             ตลอดชีวิตว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นกระบวนการจัดการศึกษาในภาพรวม

             ที่จะสนองความต้องการทางการศึกษาของแต่ละบุคคล แต่ละของกลุ่ม



                        เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18