Page 10 - ภัมภีร์กศน.
P. 10
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของ “การศึกษา” ว่าหมายถึง กระบวนการ
เรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอด
ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์
จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการ
จัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จุดประสงค์ของการศึกษา
บลูม (Benjamin S. Bloom) และ คณะ ได้จำแนกจุดประสงค์
ทางการศึกษา (Taxonomy of Education Objects) ออกเป็น 3 ด้าน
ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือด้านสติปัญญา
หรือด้านความรู้และการคิดประกอบด้วยความรู้ ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
การนำความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้ รู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์
สังเคราะห์ และประเมินค่า
2. ด้านจิตพิสัย (Effective Domain) คือด้านอารมณ์ – จิตใจ
ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม เช่น การเห็นคุณค่า การรับรู้
การตอบสนอง และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่มี
คุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือด้านทักษะ
ทางกาย หรือด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วยทักษะการเคลื่อนไหว และ
การใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเลียนแบบ การทำตามคำบอก
การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นต้น
เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.