Page 66 - ภัมภีร์กศน.
P. 66

ไม่น้อยกว่าสิบสองปี  ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ
          ค่าใช้จ่าย”

                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ให้ความ
          หมาย “การศึกษาขั้นพื้นฐาน”  ไว้ว่า “การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา”
          (มาตรา  4)  และกล่าวถึงสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการศึกษาว่า  “การ

          จัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ  และโอกาสเสมอกันในการรับการ
          ศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง  และ
          มีคุณภาพไม่เก็บค่าใช้จ่าย” (มาตรา 10 วรรคแรก)

                 ตามกฎหมายหลักทั้งสองฉบับข้างต้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการ
          ศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่ว่าสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่) เป็นการศึกษาก่อนระดับ
          อุดมศึกษา  ดังนั้น  จึงมีขอบข่ายตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปจน

          ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับผู้ใหญ่
          อาจ “มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการ

          ศึกษาระยะเวลาของการศึกษาวัดและการประเมิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ
          ของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม
          และสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

          (มาตรา 15 วรรค 2)

          สรุป

                 การศึกษาผู้ใหญ่ขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาขั้นต้นสำหรับผู้ใหญ่
          เพื่อการรู้หนังสือและการมีความรู้ความสามารถที่จะดำเนินชีวิตอยู่ได้

          ในสังคมอย่างเป็นสุข สำหรับสังคมที่ก้าวหน้าขึ้นมาระดับของการศึกษา
          ขั้นพื้นฐานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ย่อมจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น ครอบคลุมถึงชั้นมัธยม
          ตอนต้นหรือตอนปลาย ในกรณีของประเทศไทยนั้น คำว่า “การศึกษา

          ขั้นพื้นฐาน” ในปัจจุบันนี้ย่อมหมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา



         0     เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน.
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71