Page 20 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 20

20


               วิธีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้น อาจแบ่งได้เป็น 4 กรณีดังต่อไปนี้

                 (1) กรณียกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 13 กล่าวคือเมื่อมีกฎหมาย
               ใหม่ยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยใดแล้ว ก็ให้ศาลระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย

                 (2) กรณีเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14

               กล่าวคือ เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

               ซึ่งเป็นผลอันไม่อาจนํามาใช้บังคับแต่กรณีของผู้นั้นได้ หรือนํามาใช้บังคับได้แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อ

               ความปลอดภัยตามกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่าศาลมีอํานาจสั่งให้ยกเลิกหรือไม่ก็ได้หรือศาลจะสั่ง
               ให้ใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณนั้นเพียงใดหรือไม่ก็ได้ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจ

               ของศาล

                 (3) กรณีกฎหมายเปลี่ยนโทษ มาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15

               กล่าวคือ กรณีกฎหมายใหม่เปลี่ยนโทษทางอาญามาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยก็ให้ถือว่าโทษที่จะลง

               นั้นเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย เหตุผลก็คือวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเบากว่าโทษนั่นเองและหาก
               กรณีศาลยังไม่ได้ลงโทษผู้นั้นหรือผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นต่อไปส่วนผล

               บังคับในเรื่องเงื่อนไขการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแตกต่างไปจากเงื่อนไขเดิมก็ให้ใช้บังคับเช่นเดียวกับ

               กรณีมาตรา 14

                 (4) กรณีเพิกถอนหรืองดใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายอาญา
               มาตรา 16 กล่าวคือ เมื่อพฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิม

               ศาลจะสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้นั้นไว้ชั่วคราวหรือไม่ก็ได้

               3.3 การใช้กฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่

                1. ผู้ใดกระทําความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมายการกระทําความผิดในเรือไทย
               หรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทําความผิดในราชอาณาจักร

                2. รัฐมีอํานาจลงโทษผู้กระทําความผิดนอกราชอาณาจักรได้ในความผิดที่เป็นผลโดยตรงต่อความสงบ

               เรียบร้อยและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รวมทั้งในระหว่างรัฐต่างๆ โดยไม่คํานึงถึงสัญชาติของ

               ผู้กระทําผิด

                3. รัฐบาลมีอํานาจลงโทษคนในสัญชาติที่กระทําความผิดต่อบุคคลในสัญชาติ แม้กระทํานอกราชอาณา
               เขตก็ตาม ทั้งนี้ภายใต้ขอบเขตที่จํากัด

                4. การกระทําความผิดอันเดียวอาจตกอยู่ในอํานาจของศาลหลายรัฐ ดังนั้น หากมีการดําเนินคดีเดียวกัน

               ซํ้าอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมที่ผู้กระทําความผิด อาจถูกลงโทษสองครั้งในความผิดเดียวกัน จึง

               ต้องอาศัยหลักการคํานึงถึงคําพิพากษาของศาลต่างประเทศประกอบด้วย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25