Page 19 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 19

19


                - กรณีถือว่าผู้กระทําไม่เคยต้องคําพิพากษา หรือให้พ้นจากการถูกกล่าวโทษกล่าวคือ หากมีกฎหมายใหม่

               ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเก่า ในขณะที่ได้มีคําพิพากษาคงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้อง
               คําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดนั้นเลย และหากเป็นกรณีที่บุคคลนั้นยังอยู่ในขณะรับโทษ ก็ให้การลงโทษ

               นั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวบุคคลนั้นไป

                 (ข) กรณีกฎหมายใหม่แตกต่างจากกฎหมายเก่า ได้แก่กฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังแตกต่างกับ

               กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทําความผิด ซึ่งอาจแบ่งแยกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

                  - กรณีคดียังไม่ถึงที่สุด กล่าวคือ หากกฎหมายที่ใช้ภายหลังแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําผิด
               ในกรณีคดียังไม่ถึงที่สุดให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทําความผิด ไม่ว่าในทางใด

                  - กรณีคดีถึงที่สุดแล้ว และโทษที่กําหนดตามคําพิพากษาหนักแก่โทษที่กําหนดตามกฎหมายที่บัญญัติใน

               ภายหลัง ในเมื่อผู้กระทํายังไม่ได้รับโทษ หรือกําลังรับโทษอยู่อาจแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่

                    กรณีโทษตามคําพิพากษามิใช่โทษประหารชีวิต หากผู้กระทําความผิดยังไม่ได้รับโทษศาลต้องกําหนด

               โทษใหม่ตามกฎหมายที่ใช้บัญญัติในภายหลังในเมื่อผู้กระทําความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือพนักงาน
               อัยการร้องขอและหากผู้กระทําความผิดกําลังรับโทษอยู่ ศาลจะต้องกําหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่

               บัญญัติในภายหลังในกรณีที่ศาลจะกําหนดโทษใหม่นี้ หากเห็นเป็นการสมควรจะกําหนดโทษน้อยกว่าโทษ

               ขั้นตํ่าตามกฎหมายใหม่ หรือศาลจะปล่อยตัวผู้กระทําผิดไปก็ได้

                    กรณีโทษตามคําพิพากษาเป็นโทษประหารชีวิต และตามกฎหมายใหม่โทษที่จะลงแก่ผู้กระทําความผิด
               ไม่ถึงกับประหารชีวิต กรณีเช่นนี้ให้งดโทษประหารชีวิตแก่ผู้กระทําผิด และให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตาม

               คําพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุดที่จะลงได้ตามกฎหมายใหม่ โดยไม่ต้องมีการร้องขอหรือใช้ดุลพินิจ

               ของศาล

                3.2.2 กรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัย
                 หลักเกณฑ์การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นมีบทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

               12 ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการดังต่อไปนี้

                 (1) วิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จะใช้บังคับได้ต้องเป็นวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้ เพราะวิธีการเพื่อความ
               ปลอดภัยเป็นเรื่องของการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ฉะนั้นจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้

               อํานาจไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น และ

                 (2) กฎหมายที่จะนํามาใช้ บังคับเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ต้องเป็นกฎหมายในขณะที่ศาล

               พิพากษาคดี มิใช่กฎหมายในขณะที่พฤติการณ์อันเป็นเหตุให้อาจนําวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้นั้นได้

               เกิดขึ้น เหตุผลก็คือ วิธีการเพื่อความปลอดภัยไม่ใช่โทษ แต่เป็นวิธีการเพื่อป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจาก
               การที่บุคคลนั้นกระทําความผิดในภายภาคหน้า
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24