Page 14 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 14
14
2.1.4 การจัดทําสถิติและเกณฑ์วัดแนวโน้มของอาชญากรรม
สถิติอาชญากรรมของทางราชการอาจบอกให้ทราบว่ามีอาชญากรรมอะไรเกิดขึ้นในสังคมในแต่ละปีและ
สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตํารวจเกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรม
สถิติอาชญากรรมอย่างไม่เป็นทางการได้มาจากการทํา 5 อย่างด้วยกันคือ
(1) การสังเกตอาชญากรรม
(2) รายงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชน
(3) สถานการณ์ทดสอบ
(4) การศึกษาผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม
(5) คําสารภาพของผู้ถูกสัมภาษณ์
อาชญากรรมในประเทศไทยเกิดขึ้นมากมาย อาชญากรรมอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญมีอัตราการเกิดขึ้น
ค่อนข้างคงที่ คือในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มและลดไม่มากนัก แต่ถ้าว่าถึงจํานวนความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
เกิดขึ้นมากที่สุด ในบรรดาความผิดอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญด้วยกัน
ในด้านความผิดต่อชีวิต ร่างกายและเพศ ความผิดฐานทําร้ายร่างกายเกิดขึ้นมากที่สุด และมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
ในด้านความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นมากที่สุด แต่มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับ
ความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน ส่วนความผิดที่เหลือค่อนข้างคงที่ คือมีการเพิ่มและลด
ค่อนข้างน้อยเมื่อพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์บางประเภท ความผิดฐานลักรถจักร ยานยนต์และรถยนต์
เกิดขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการลักโคกระบือมีแนวโน้มลดลง
ในด้านความผิดต่อ พรบ. อาวุธปืนฯ พรบ. การพนัน และ พรบ. ยาเสพติด ความผิดต่อ พรบ. ทั้ง 3 นี้
เกิดขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
2.2 ทฤษฎีสาเหตุของอาชญากรรม
1. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมมีที่มาจากทฤษฎีของสํานักคลาสสิกและสํานักโปซิตีพ
2. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางชีววิทยาบอกว่า อาชญากรรมเกิดจากความผิดปกติทางกายภาพอันมี
ผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม
3. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางจิตวิทยาอธิบายว่า อาชญากรรมเกิดขึ้นจากความผิดปกติทางอารมณ์
ทางจิตและทางบุคลิกภาพ
4. ทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางสังคมวิทยาอธิบายว่า อาชญากรรมเกิดจากอิทธิพลของสังคมและ
สิ่งแวดล้อม