Page 9 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 9

9


                  1.1.4 กฎหมายอาญากับกฎหมายแพ่ง

                     มีความต่างกันในสาระสําคัญดังต่อไปนี้
                  (1) แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่

               และความสัมพันธ์ระหว่างเอชนกับเอกชนอาทิเช่น สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรการสมรส

                การหย่า มรดก ภูมิลําเนาของบุคคล ส่วนกฎหมายอาญานั้นเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง

               รัฐกับเอกชนโดยเอกชนมีหน้าที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งกําหนดให้การกระทําอันใดก็ตาม
               เป็นความผิดถ้าหากฝ่าฝืนโดยปกติต้องมีโทษ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐาน

               ยักยอก และฐานหมิ่นประมาท เป็นอาทิ

                  (2) แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอํานวยและ

               รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันแม้บางกรณีรัฐจะเข้าไปเป็น
               คู่กรณีในทางแพ่งก็ตามรัฐอยู่ในฐานะเป็นเอกชนมีสิทธิหน้าที่อย่างเดียวกับเอกชนอื่นๆทุกประการส่วน

               กฎหมายอาญานั้นมีเจตารมย์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความ

               ปลอดภัยแก่สังคมเมื่อบุคคลใดละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญากฎหมายถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย

               โดยตรง จริงอยู่ที่ตามระบบกฎหมายอาญาของไทยเรานั้น เอกชนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

               ฟ้องร้องให้ศาลลงโทษผู้ล่วงละเมิดตนได้ดุจกัน แต่สิทธิของเอกชนดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเพียงข้อยกเว้น
               ของหลักกฎหมายที่ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น

                  (3) แตกต่างกันด้วยการตีความ ในกฎหมายแพ่งนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4

               บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่ง

               กฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
                       ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะ

               ถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติ

               แห่งกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการ

               กระทําอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทําที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมิได้
                  (4) แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมี

               การล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์

               มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชําระหนี้ตามคําพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะ

               ปฏิบัติตามคําพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทาง

               อาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สําหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต
               จําคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14