Page 11 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 11
11
หลักพื้นฐานของกฎหมายอาญา ได้แก่
(1) ความยุติธรรม
(2) เจตนา
(3) การกระทํา
(4) เจตนาและการกระทําต้องเกิดร่วมกัน
(5) อันตรายต่อสังคม
(6) ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
(7) ลงโทษ
บทบัญญัติทั้ง 3 ส่วนนี้ย่อมสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ถ้าจะเข้าใจผิดฐานใดฐานหนึ่งได้ชัดแจ้งจะต้องนําหลัก
ทั่วไปและหลักพื้นฐานไปพิจารณาประกอบด้วย เพราะลําพังแต่บทบัญญัติภาคความผิดนั้นมิได้ให้
ความหมายหรือคําจํากัดความที่สมบูรณ์ของความผิดแต่ละฐาน จะต้องพิจารณาประกอบกับหลักทั่วไป
และหลักพื้นฐานเสมอ
ลักษณะทั่วไปของกฎหมายอาญาและปรัชญากฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยการกระทําความผิดและกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทําผิด
2. ความคิดทางกฎหมายอาญาของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา ความสําคัญอยู่ที่
ตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. ประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกของไทยคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127
4. โครงสร้างของประมวลกฎหมายฉบับปัจจุบันประกอบด้วย ภาคบทบัญญัติทั่วไป ภาคความผิด
และ ความผิดลหุโทษ รวม 3 ภาค
5. ความผิดทางอาญาหมายถึง การกระทํา หรือละเว้นการกระทําที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
และกําหนดโทษไว้ด้วย
6. ความผิดทางแพ่งต่างกับความผิดทางอาญาคือ ความผิดทางแพ่งเป็นการละเมิดต่อเอกชน
โดยเฉพาะส่วนความผิดทางอาญาเป็นการทําความเสียหายต่อส่วนรวม
7. กฎหมายอาญามีความมุ่งหมายคือ คุ้มครองส่วนได้เสียของสังคมโดยการลงโทษผู้กระทําผิด
8. เหตุที่รัฐมีเหตุผลในการแทรกแซงเข้าไปลงโทษบุคคลคือ เพื่อป้องกันสังคมและตอบแทนผู้
กระทําความผิด
9. กรณีความผิด ขับรถชนรั้วบ้านผู้อื่นโดยประมาท เป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น
10. กฎหมายอาญามุ่งที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน ส่วนกฎหมายแพ่งมุ่งที่
จะรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง