Page 7 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 7

7


                                                    กฎหมายอาญา

               1. ลักษณะทั่วไปของกฎหมายอาญาและปรัชญากฎหมายอาญา

                   1. กฎหมายอาญาจัดอยู่ในสาขากฎหมายมหาชน เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดย

               บัญญัติว่าการกระทําใดๆเป็นความผอดและกําหนดโทษที่จะลงแก่ความผิดนั้น
                   2.  กฎหมายอาญามีความมุ่งหมายที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม  ให้สมาชิกของสังคมมี

               ความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน

                   1.1 ลักษณะทั่วไปของกฎหมายอาญา
                   1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษ โดย บัญญัติการกระทําเป็นความผิดอาญา

               และกําหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทําความผิดนั้น

                   2. ในสังคมเริ่มแรก กฎหมายให้อํานาจแก่บุคคลที่จะทําการแก้แค้นต่อผู้กระทําผิด และเมื่อรัฐมั่นคงขึ้น

               จึงกําหนดให้มีการชดใช้ค่าเสียหายแทนการแก้แค้น จนในที่สุดรัฐก็เข้าไปจัดการลงโทษผู้กระทําผิดเอง

                   3.  ความผิดอาญาหมายถึง  การกระทําหรือละเว้นการกระทําที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและ
               กําหนดโทษไว้

                   4. ความผิดอาญาแบ่งแยกได้หลายประเภทแล้วแต่แนวความคิดและความมุ่งหมาย เช่น ตามความ

               หนักเบาของโทษ ตามการกระทํา ตามเจตนา ตามศีลธรรม เป็นต้น

                   5. กฎหมายอาญาเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับเอกชน และมุ่งที่จะลงโทษผู้กระทําความผิด ส่วนกฎหมาย

               แพ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ระหว่างเอกชนด้วยกัน การกระทําความผิดทางแพ่งจึงไม่กระทบกระเทือน
               ต่อสังคมเหมือนความผิดอาญา

                1.1.1 ความหมายของกฎหมายอาญา

                   กฎหมายอาญาจัดอยู่ในสาขากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดและกําหนด
               โทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทําความผิดนั้น

                       กฎหมายอาญามี 2 ระบบคือ ระบบกฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย ซึ่งบัญญัติ

               ความผิดอาญาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งความผิดอาญาเป็นไปตามหลักเกณฑ์

               ในคําพิพากษาของศาล ความผิดในทางอาญาของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายนั้นถือว่า การ
               กระทําใดๆจะเป็นความผิดหรือไม่และต้องรับโทษอย่างไร ต้องอาศัยตัวบทกฎหมายอาญาเป็นหลัก การ

               ตีความวางหลักเกณฑ์ของความผิดจะต้องมาจากตัวบทเหล่านั้น คําพิพากษาของศาลไม่สามารถสร้าง

               ความผิดอาญาขึ้นได้ แต่ระบบคอมมอนลอว์นั้น การกระทําใดๆจะเป็นความผิดอาญาต้องอาศัยคํา

               พิพากษาที่ได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานและนําบรรทัดฐานนั้นมาเปรียบเทียบกับคดีที่เกิดขึ้น
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12