Page 8 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 8
8
1.1.2 วิวัฒนาการของกฎหมายอาญา
แต่เดิมกฎหมายอาญาของไทยมิได้จัดทําในรูปประมวลกฎหมาย แต่มีลักษณะเป็นกฎหมายแต่ละ
ฉบับไป เช่น กฎหมายลักษณะโจร ลักษณะวิวาท เป็นต้น ต่อมาในรัชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เนื่องจากความจําเป็นในด้านการปกครองประเทศ และความจําเป็นที่จะต้องเลิกศาลกงสุล
ต่างประเทศ จึงได้มีการจัดทําประมวลกฎหมายอาญาขึ้น ทํานองเดียวกันกับกฎหมายอาญาของประเทศ
ทางตะวันออก และญี่ปุ่น เรียกว่ากฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายอาญาฉบับ
แรกของไทย กฎหมายลักษณะอาญาได้ใช้บังคับมาเป็นเวลาประมาณ 48 ปี จนถึง พ.ศ. 2500 ก็ได้ยกเลิก
ไป และได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน และใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2500 ซึ่งตรงกับวาระฉลองครบ 25 พุทธศตวรรษ
นํามาบัญญัติได้ไม่หมดสิ้น ความผิดในประมวลกฎหมายอาญาเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของความผิดอาญา
เท่านั้น ยังมีความผิดอาญาพระราชบัญญัติต่างๆ อีกมากมาย เช่น พรบ. ป่าไม้ พรบ. ยาเสพติดให้โทษ
เป็นต้น แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานั้นๆ เป็นความผิดที่มีลักษณะทั่วไปคือ เป็นความผิดที่
สามัญชนย่อมกระทําอยู่เป็นปกติ เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย ทําร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ เป็นต้น ส่วน
ความผิดอาญาตาม พระราชบัญญัติอื่น เป็นความผิดเฉพาะเรื่องนั้นๆ เช่น ความผิดตามพระราชบัญญัติ
ป่าไม้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับป่าไม้ ว่าการกระทําเช่นไรเป็นความผิดและมีโทษเท่าใด
ประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาค 1 ว่าด้วยบทบัญญัติทั่วไป คือ เป็น
หลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายอาญาทั้งปวง ซึ่งจะต้องนําไปใช้บังคับในความผิดอาญาตามกฎหมายอื่น
ด้วย ภาค 2 ว่าด้วยความผิดอาญาสามัญ และภาค 3 ว่าด้วยความผิดลหุโทษ
1.1.3 ประเภทของความผิด
ความผิดอาญาหมายถึงการกระทําหรือละเว้นการกระทําที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกําหนด
โทษไว้ ความผิดอาญาอาจจําแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่ข้อพิจารณาในการแบ่งประเภทนั้นๆ เช่น
(1) พิจารณาตามความหนักเบาของโทษ แบ่งเป็นความผิดอาญาสามัญและความผิดลหุโทษ
(2) พิจารณาในแง่เจตนา แบ่งเป็นความผิดที่กระทําโดยเจตนากับความผิดที่กระทําโดยประมาท
และ ความผิดที่ไม่ต้องกระทําโดยเจตนา
(3) พิจารณาในแง่ศีลธรรม แบ่งเป็นความผิดในตัวเอง เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาม ข่มขืน
ลักทรัพย์ และความผิดเพราะกฎหมายห้าม เช่น ความผิดฐานขับรถเร็วเกินสมควร
นอกจากนี้อาจแบ่งได้โดยข้อพิจารณาอื่นๆ อีก เช่น ตามลักษณะอันตรายต่อสังคม ตามลักษณะการ
กระทําและตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา