Page 12 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 12

12


               11. เป็นการบอกลักษณะของกฎหมายอาญาดีที่สุดคือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและ

                      โทษสําหรับความผิด
                12.ประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มีความคิดทางกฎหมายอาญาคือ ถือว่าตัวบทกฎหมายอาญา

                     ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีความสําคัญที่สุด

                13. การกระทําที่จะถือว่าเป็นความผิดอาญาคือ การกระทําหรือละเว้นการกระทําที่กฎหมายบัญญัติ

                      เป็นความผิดและกําหนดโทษ

                 14. สภาพบังคับทางอาญาและสภาพบังคับทางแพ่ง ต่างกันเพราะสภาพบังคับทางอาญาเป็น
                       ลงโทษ เช่น ประหารชีวิตหรือจําคุก ส่วนสภาพบังคับทางแพ่งเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย

                 15. การกระทําที่ถือว่าเป็นเฉพาะความผิดทางแพ่ง คือ ขับรถชนรถยนต์คันอื่นเสียหายทั้งคัน

                 16. ความแตกต่างระหว่างกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาคือ สภาพบังคับในกําหมายแพ่งเป็น

                        การชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนกําหมายอาญาเป็นการลงโทษ

               2. อาชญากรรมในสังคม
                 1. อาชญากรรมคือการกระทําที่มีโทษทางอาญา

                 2. ตามแนวความคิดของนักอาชญาวิทยาต่างสํานักกัน อาชญากรรมอาจเป็นพฤติกรรมที่คนเลือกกระทํา

               เพื่อแสวงหาความสุข หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ทาง

               ธรรมชาติอื่นๆ หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่เขัดต่อบรรทัดฐาน ความประพฤติของคนส่วนใหญ่ในสังคม

                 3. สาเหตุของอาชญากรรมมีที่มาจากการศึกษาของนักอาชญาวิทยาสํานักโปซิตีพ ซึ่งต่อมาได้มีผู้ศึกษา
               ค้นคว้าเพิ่มเติมจนก่อตั้งเป็นทฤษฎีสาเหตุอาชญากรรมทางชีววิทยา ทางจิตวิทยาและทางสังคมวิทยา

                 2.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาชญากรรม

                 1. อาชญากรรมอาจนิยามได้หลายอย่าง อาชญากรรมตามกฎหมาย หมายถึงการกระทําที่ฝ่าฝืน
               บทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนอาชญากรรมตามนิยามทางสังคมหมายถึงการประทําที่ฝ่าฝืนบรรทัด

               ฐานความประพฤติทางสังคม

                 2. อาชญากร เป็นผู้กระทําความผิดที่ศาลได้พิพากษาแล้วว่าได้กระทําความผิดและลงโทษตามกฎหมาย

                 3. เพศ อายุ การศึกษาและฐานะทางสังคมอื่นๆเป็นปัจจัยแสดงสถานะของอาชญากรรมและอาชญากร

                 4. อาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรมและอาชญากรโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                 5. สํานักอาชญาวิทยาที่สําคัญอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เน้นการศึกษาทางด้านสาเหตุ

               อาชญากรรม ซึ่งมีสํานักโปซิตีพเป็นสํานักสําคัญ และกลุ่มที่ 2 เน้นทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับการลงโทษ

               ผู้กระทําความผิดซึ่งมีสํานักคลาสสิกเป็นสํานักสําคัญ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17