Page 21 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 21

21


               3.3.1 หลักดินแดน

               กรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการกระทําความผิดในราชอาณาจักรมีดังต่อไปนี้
                 (1) กระทําความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าอยู่ที่ใด(แต่ต้องอยู่นอกราชอาณาจักร)

               ตามมาตรา 4 วรรค 2

                 (2) การกระทําความผิดบางส่วนในราชอาณาจักรและบางส่วนนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรคแรก

                 (3) การกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทําเกิดขึ้นในราชอาณาจักร โดยผู้กระทํา
               ประสงค์ให้ผลเกิดขึ้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรคแรก

                 (4) การกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทําผิดเกิดในราชอาณาจักรโดยลักษณะ

               แห่งการกระทํา ผลนั้นควรเกิดขึ้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรคแรก

                 (5) การกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และผลของการกระทําเกิดขึ้นในราชอาณาจักร โดยย่อมจะ
               เล็งเห็นได้ว่า ผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรคแรก

                 (6) การตระเตรียมการนอกราชอาณาจักร ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าหากการกระทํานั้นจะได้

               กระทําตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสําเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรค 2

                 (7) การพยายามกระทําการนอกราชอาณาจักร ซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าหากการกระทํานั้นจะ

               ได้กระทําตลอดไปจนจนถึงขั้นความผิดสําเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา 5 วรรค 2
                 (8) ตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ได้กระทํานอกราชอาณาจักรโดยความผิดนั้นได้กระทําใน

               ราชอาณาจักรหรือกฎหมายให้ถือว่าได้กระทําในราชอาณาจักร ตามมาตรา 6

               4. ความรับผิดทางอาญา

                1. ความรับผิดในทางอาญาเกิดขึ้นเมื่อผู้กระทําได้กระทําครบ“องค์ประกอบ”ที่กฎหมายบัญญัติ
                2. การกระทําที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติจะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด

                3.การกระทําที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดนั้นจะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษด้วย

                4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อมีการกระทํา

               4.1 โครงสร้างรับผิดทางอาญา

                1. การกระทําครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติหมายความว่า
                 (1) ผู้กระทําจะต้องมี “การกระทํา”

                 (2) การกระทํานั้นจะต้องครบ “องค์ประกอบภายนอก” ที่กฎหมายบัญญัติไว้

                 (3) การกระทําจะต้องครบ “องค์ประกอบภายใน” ที่กฎหมายบัญญัติไว้

                 (4) ผลของการกระทําจะต้องสัมพันธ์กับการกระทําตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์
               ระหว่างการกระทําและผล

               2. การกระทําที่ครบตามหลักเกณฑ์ข้างต้นทั้ง 4 ประการนั้นจะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด

               3. การกระทําที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดจะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษด้วย
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26