Page 22 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 22

22


               4.1.1 การกระทําครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ

                 การกระทําที่ครบองค์ประกอบ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ หมายความว่า ผู้กระทํามีการกระทํา การกระทํานั้น
               ครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องนั้นๆ การกระทํานั้นครบองค์ประกอบภายในของความผิด

               ในเรื่องนั้นๆ และผลกระทบของการกระทําสัมพันธ์กับการกระทําตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการ

               กระทําและผล

               4.1.2 การกระทําไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
                 การกระทําที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดหมายความว่า ผู้กระทําไม่มีอํานาจตามกําหมายที่จะกระทํา

               การซึ่งครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเมื่อไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด ผู้กระทําก็มีความผิด แต่

               ถ้ามีกฎหมายยกเว้นความผิด ผู้กระทําก็ไม่มีความผิด กฎหมายที่ยกเว้นความผิดอาจจะบัญญัติไว้ใน
               ประมวลกฎหมายอาญา เช่น เรื่องป้องกันตัว ตาม ปอ. มาตรา 68 หรือไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรง เช่น หลักใน

               เรื่องความยินยอมหรือบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น เช่น ปพพ. มาตรา 1567 (2) ให้อํานาจผู้ใช้อํานาจ

               ปกครองทําโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน หรือในรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 125 ของรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งให้เอกสิทธิในการอภิปรายในสภาแก่สมาชิกรัฐสภาเป็นต้น
               4.1.3 การกระทําไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

                 การกระทําไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ หมายความว่าการกระทําซึ่งครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติซึ่ง

               ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดนั้น ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทําเช่นกัน แต่ถ้ามีกฎหมายยกเว้น
               โทษแล้ว ผู้กระทําก็ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา กฎหมายที่ยกเว้นโทษมีหลายกรณี เช่น การกระทําความผิด

               โดยจําเป็นตาม ปอ. มาตรา 67 เด็กกระทําความผิดตาม ปอ. มาตรา 73 74 ผู้กระทําวิกลจริต ตาม ปอ.

               มาตรา 65 วรรคแรก ผู้กระทํามึนเมาตาม ปอ. มาตรา 66 การกระทําตามคําสั่งมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้า

               พนักงานตาม ปอ. มาตรา 70 การกระทําความผิดต่อทรัพย์ในระหว่างสามีภรรยาตาม มาตรา 71 เป็นต้น

               4.2 การกระทํา
                1. ความรับผิดในทางอาญาของบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นมี “การกระทํา” หากไม่มีการกระทําแล้ว

               บุคคลก็ไม่ต้อรับผิดในทางอาญา

                2. การกระทําคือ การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สึกนึกกล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับ

               ของจิตใจ

                3. ในการที่จะวินิจฉัยว่าผู้กระทํามีการกระทําหรือไม่นั้นต้องพิจารณาว่าผู้กระทําคิดที่จะกระทําตกลงใจที่
               จะกระทําตามที่ได้คิดไว้ และได้กระทําไปตามที่ตกลงใจนั้นหรือไม่ หากเป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าวก็ถือว่า

               มีการกระทํา

                4. การกระทําโดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อผู้กระทําเคลื่อนไหวร่างกาย แต่การไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อาจถือว่า

               เป็นการกระทําได้ ซึ่งแบ่งการกระทําโดยงดเว้นและการกระทําโดยละเว้น
                5. การกระทําโดยงดเว้น หมายถึงงดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผล
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27