Page 27 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 27

27


                 ในกรณีพิจารณาถ้อยคํานั้นๆ เป็นเจตนาพิเศษหรือไม่ให้สังเกตคําว่า “เพื่อ.........” หรือคําว่า “โดยทุจริต”

               เป็นต้น
                 ความผิดที่กฎหมายต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 หากผู้กระทํามี

               แต่เจตนาธรรมดา เช่น ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเท่านั้น ผู้กระทําก็ยังไม่มีความผิด โดยถือว่าขาด

               องค์ประกอบภายใน แต่ถ้ามีความผิดมาตรานั้นๆ กฎหมายไม่ต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานฆ่า

               คนตายโดยเจตนาตาม ปอ. มาตรา 288 เพียงแต่ผู้นั้นกระทํามีเจตนาธรรมดา กล่าวคือ ประสงค์ต่อผลหรือ

               เล็งเห็นผล ผู้กระทําก็มีความผิดแล้ว
               5.2.2 เจตนาโดยผลของกําหมาย

                 หมายความว่า กฎหมายถือว่าผู้กระทํามีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลต่อผู้อื่นซึ่งได้รับผลจากการ

               กระทําแม้ว่าความจริงผู้กระทําจะมิได้ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลนั้นๆ เลย
                 ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 60 ซึ่งเรียกกันว่าการกระทําโดยพลาด

                 การที่จะถือว่าเป็นการกระทําโดยพลาดนั้น ผู้ถูกกระทําจะต้องมีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และผู้กระทําจะต้อง

               มิได้มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลต่อผู้รับผลของการกระทําโดยพลาด

                 หากผู้กระทํามีเจตนากระทําต่อชีวิติของบุคคลหนึ่ง หากผลไปเกิดแก่ทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่งก็ไม่ถือว่า

               เป็นการกระทําโดยพลาด เพราะผู้กระทํารู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานฆ่าคน
               ตายตาม ปอ. มาตรา 288 ผู้กระทําไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด ฐานทําให้เสีย

               ทรัพย์ตาม ปอ. มาตรา 358 จึงถือว่ามีเจตนาทําให้เสียทรัพย์ไม่ได้ เช่น ม่วงต้องการฆ่า

               5.2.3 การสําคัญผิดในตัวบุคคล
                 การสําคัญผิดในตัวบุคคล หมายความว่า ผู้กระทําได้กระทําต่อบุคคลซึ่งได้รับผลร้ายโดยเข้าใจว่า ผู้ได้รับ

               ผลร้ายนั้นเป็นอีกบุคคลหนึ่ง เช่น ม่วงต้องการฆ่าเหลือง ม่วงเห็นฟ้าเดินมาในความมืดคิดว่าเป็นเหลือง จึง

               ใช้ปืนยิงฟ้าตาย เช่นนี้ ถือว่าม่วงกระทําโดยเจตนาต่อฝ้าแล้ว เพราะม่วงรู้ว่าตนกําลังฆ่าผู้อื่น และม่วง

               ต้องการให้ผู้อื่นนั้นตาย จึงถือว่าม่วงกระทําโดยเจตนาต่อฟ้า ม่วงยกเอาความสําคัญผิดว่าฟ้าคือเหลืองมา

               แก้ตัวว่าไม่มีเจตนา ซึ่งมีอยู่แล้วนั้นไม่ได้
                 สําคัญผิดในตัวบุคคลมีผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว กล่าวคือผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทํา ส่วนพลาดนั้นมี

               ผู้เสียหายสองฝ่ายคือ ผู้เสียหายฝ่ายแรกที่ผู้กระทํามุ่งหมายกระทําต่อ (ผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรก

               หรือไม่ก็ตาม) และผู้เสียหายฝ่ายที่สองซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น
               5.2.4 การสําคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ หรือลดโทษ

                 ความสําคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุยกเว้นความผิด เช่น กรณีป้องกันโดยสําคัญผิดซึ่งหมายความ

               ว่าความจริงไม่มีภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย แต่ผู้กระทําสําคัญผิดไปว่ามี

                 ความสําคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงเป็นเหตุยกเว้นโทษ เช่น กรณีจําเป็นโดยสําคัญผิด หรือลักทรัพย์ของผู้อื่น
               แต่สําคัญผิดว่าเป็นของคู่สมรสเป็นต้น
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32