Page 30 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 30
30
5.3.1 หลักในการวินิจฉัยเรื่องประมาท มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) มิใช่เป็นการกระทําความผิดโดยเจตนา
(ข) กระทําไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนี้จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
(ค) ผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ให้สมมติบุคคลขึ้นเปรียบเทียบ บุคคลที่สมมตินี้ต้องมีทุกอย่างเหมือนผู้กระทํากล่าวคือ อยู่ในภาวะอย่าง
เดียวกับผู้กระทําตามวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกัน หากบุคคลที่สมมุตินี้โดยทั่วไปไม่อาจใช้ความ
ระมัดระวังก็ถือว่าการที่ผู้กระทําไม่ใช้ความระมัดระวังผู้กระทําไม่ประมาท
5.3.2 ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการกระทําโดยประมาท
ม่วงขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่ แต่ม่วงขับรถไปตามถนนด้วยความระมัดระวัง แดงวิ่งตัดหน้ารถของ
ม่วงในระยะกระชั้นชิด รถของม่วงชนแดงตาย เช่นนี้ จะถือว่าการที่ม่วงฝ่าฝืนกฎหมายด้วยการขับรถโดยไม่
มีใบอนุญาต เป็นการกระทําโดยประมาทตาม ปอ. มาตรา 59 วรรค 4 และต้องรับผิดตาม ปอ. มาตรา 291
ฐานทําให้คนตายโดยประมาทเลยจะถูกต้องหรือไม่
ไม่ถูกต้อง การที่ม่วงฝ่าฝืนกฎหมายด้วยการขับรถยนต์ไปตามถนนโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้น จะถือว่า
การกระทําดังกล่าวเป็นประมาททันทีไม่ได้ การกระทําของม่วงจะเป็นประมาทหรือไม่จะต้องเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ ของมาตรา 59 วรรค 4 การขับรถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่อาจจะถือว่าไม่ประมาทก็ได้
หากไม่เป็นการกระทําโดยปราศจากความระมัดระวังตามหลักเกณฑ์ของ ปอ. มาตรา 59 วรรค 4
ม่วงขับรถโดยประมาท ชนกับรถของเหลืองซึ่งขับมาโดยประมาทเช่นกัน ปรากฏว่าแดงซึ่งนั่งมาในรถของ
เหลืองถูกรถชนตาย เช่นนี้ม่วงและเหลืองจะต้องรับผิดอย่างไร
ม่วงและเหลืองต่างคนต่างต้องรับผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้แดงตาย กล่าวคือ แต่ละคนต้อง
รับผิดชอบ ปอ. มาตรา 291 ฐานทําให้คนตายโดยประมาท
การร่วมกระทําความผิดตาม ปอ. มาตรา 83 การใช้ให้กระทําความผิดตาม ปอ. มาตรา 84 การสนับสนุน
ให้กระทําความผิดตาม ปอ. มาตรา 86 มีได้เฉพาะในความผิดที่กระทําโดยเจตนา ความผิดที่กระทําโดย
ประมาท ไม่อาจทราบได้ว่าผลจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยสภาพจึงไม่อาจร่วมกระทํา ใช้ให้กระทํา หรือสนับสนุน
ให้กระทําไม่ได้