Page 35 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 35
35
(2) หน้าที่ซึ่งเกิดจากสิทธินั้นอาจเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทําหรืองดเว้นการกระทํา เช่นสิทธิในทรัพย์สิน
ก่อให้เกิดหน้าที่งดเว้นไม่เข้าแทรกแซงการใช้สอย ไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของเขา ผู้เอาทรัพย์สินของเขาไปก็มี
หน้าที่ต้องกระทําคือต้องส่งคืนเขา หน้าที่ที่เกิดจากเสรีภาพ ก่อให้ผู้อื่นมีหน้าที่ต้องงดเว้น
กระทําคือไม่เข้าขัดขวางหรือไม่เข้าแทรกแซงเสรีภาพของเขา เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา ผู้อื่นก็มี
หน้าที่ที่จะไม่ขัดขวางต่อการนับถือศาสนาของเขา
(3) เสรีภาพนั้นกล่าวกันมากในกฎหมายมหาชน เช่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอนาจักรไทย พ.ศ. 2534
มาตรา 24 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรํฐธรรมนูญชายและหญิง
มีสิทธิเท่าเทียมกัน การกําจัดสิทธิและเสรีภาพอันเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
จะกระทํามิได้
องค์ประกอบแห่งสิทธิมีสาระสําคัญ 4 ประการคือ
(ก) ผู้ทรงสิทธิ
(ข) การกระทําหรือละเว้นการกระทํา
(ค) วัตถุแห่งสิทธิ
(ง) บุคคลซึ่งมีหน้าที่
การแบ่งสิทธิตามกฎหมายเอกชนนั้นเป็นสิทธิที่รัฐยอมรับรองและบังคับการให้ เพราะเป็นสิทธิของเอกชน
ที่จะใช้ยันกับเอกชน ไม่ก่อผลมายันต่อรัฐไม่กระทบถึงอํานาจรัฐมากนัก แบ่งตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
(ก) การแบ่งแยกตามสภาพของสิทธิ
- สิทธิสมบูรณ์
- สิทธิสัมพัทธ์
(ข) การแบ่งแยกตามวัตถุแห่งสิทธิ
- สิทธิเกี่ยวกับบุคคล
- สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
- สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
(ค) การแบ่งแยกตามเนื้อหา
- สิทธิในทางลับ
- สิทธิในทางปฏิเสธ
(ง) การแบ่งแยกตามขอบเขตที่ถูกกระทบกระทั่งโดยสิทธิอื่นๆ
- สิทธิที่เป็นประธาน หมายถึงสิทธิที่เกิดขึ้นและดํารงอยู่โดยตัวเองมิได้ขึ้นอยู่กับสิทธิอื่น สิทธิที่เกิดขึ้น
และเป็นอิสสระไม่ขึ้นกับสิทธิอื่น
- สิทธิอุปกรณ์ หมายถึงสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องมาแต่สิทธิอื่น การดํารงอยู่ก็ขึ้นอยู่กับสิทธิอื่น สิทธิอุปกรณ์มิได้
เป็นอิสระของตนเองแต่ขึ้นอยู่กับสิทธิอื่น