Page 33 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 33
33
1.1.2 การตีความกฎหมาย
การตีความตามเจตนารมณ์กับการตีความตามตัวอักษร การตีความในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกฎหมายมี
ความกํากวมไม่ชัดเจน หรืออาจแปลความหมายไปได้หลายทางการตีความตามกฎหมายจะแยกพิจารณา
จะต้องแยกพิจารณาออกเป็น หลักการตีความกฎหมายทั่วไป กับหลักการตีความกฎหมายพิเศษ
หลักเกณฑ์การตีความกฎหมายทั่วไป เป็นการหาความหมายที่แท้จริงของกฎหมาย จําเป็นต้องพิเคราะห์
ตัวกฎหมายและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของกฎหมาย หรือเจตนารมย์ของกฎหมายการพิเคราะห์กฎหมายมี
2 ด้าน คือ
(1) พิเคราะห์ตัวอักษร
(2) พิเคราะห์เจตนารมย์ หรือเหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมาย
การตีความตามกฎหมายพิเศษ มีหลักการตีความของตนเองโดยเฉพาะ
หลักเกณฑ์ในการหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์บางประการที่จะช่วยหาเจตนารมณ์บาง
ประการของกฎหมายหลักคือ
1) หลักที่ถือว่ากฎหมายมีความมุ่งหมายที่จะใช้บังคับได้ในบางกรณี กฎหมายอาจแปลความได้หลายนัย
ทําให้กฎหมายไร้ผลบังคับ ปัญหาว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายจะใช้ความหมายใดต้องถือว่ากฎหมายมี
เจตนาจะให้มีผลบังคับได้จึงต้องถือเอานัยที่มีผลบังคับได้
2) กฎหมายที่เป็นข้อยกเว้นไม่มีความมุ่งหมายที่จะให้ขยายความออกไป กล่าวคือ กฎหมายที่เป็นบท
ยกเว้นจากบททั่วไปหรือกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติตัดสิทธินั้นหากมีกรณีที่แปลความได้
อย่างกว้างหรืออย่างขยาย กับแปลความอย่างแคบ ต้องถือหลักแปลความอย่างแคบเพราะกฎหมาย
ประเภทนี้ไม่มีความมุ่งหมายให้แปลความอย่างขยายความ
การตีความกฎหมายทั่วไปกับการตีความตามกฎหมายเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ต่างกัน คือการตีความ
กฎหมายโดยทั่วไป คือการหาความหมายที่แท้จริงของกฎหมาย ซึ่งจําเป็นต้องพิเคราะห์ตัวกฎหมาย และ
เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของกฎหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย การตีความกฎหมายต้องพิเคราะห์ 2
ด้านคือ (1) พิเคราะห์ตัวอักษร และ (2) พิเคราะห์เจตนารมย์ หรือเหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมาย
การแสวงหาเจตนารมณ์ของกฎหมายมีทฤษฎี 2 ทฤษฎี คือ (ก) ทฤษฎีอัตตวิสัย หรือทฤษฎีอําเภอจิต (ข)
ทฤษฎีภววิสัย หรือทฤษฎีอําเภอการณ์
การตีความกฎหมายพิเศษ มีหลักเกณฑ์การตีความของตนเองโดยเฉพาะ จะนําหลักทั่วไปในการตีความ
มาใช้โดยด้วยมิได้ เช่นกฎหมายพิเศษได้แก่ กฎหมายอาญา ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิเศษคือ
(1) กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กําหนดความผิดและโทษจึงต้องตีความเคร่งคัด
(2) จะตีความโดยขยายความให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษผู้กระทําผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
หลักการตีความต้องตีความตามตัวอักษรก่อนหากตัวอักษรมีถ้อยคําชัดเจนก็ใช้กฎหมายไปตามนั้น แต่
หากตัวอักษรไม่ชัดเจนหรือมีปัญหา จึงมาพิจารณาความมุ่งหมายหรือเจตนารมย์ของกฎหมายนั้น