Page 32 - กฏหมายในชีวิตประจำวัน
P. 32

32


                                                     กฎหมายแพ่ง

               1. การใช้การตีความกฎหมายและบททั่วไป

                 1.วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์พื้นฐานหลายประการ ที่ผู้ศึกษากฎหมายจําเป็นต้องศึกษา
               หลักเกณฑ์พื้นฐานทางความคิดเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทําให้การศึกษากฎหมายเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ และมี

               ความคิดที่เป็นระบบ

                 2. การศึกษากฎหมายก็เพื่อใช้กฎหมาย และในการใช้กฎหมายนั้นก็จําเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมาย

               โดยผู้ที่ใช้กฎหมายด้วย
                 3. หลักเกณฑ์ที่สําคัญประการหนึ่งของกฎหมายก็คือกฎหมายจะกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล และ

               บุคคลผู้มีสิทธินั้นก็ต้องใช้สิทธิให้ถูกต้อง

                 4. ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ได้บัญญัติบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ซึ่งเป็น

               หลักเกณฑ์ทั่วไปที่อาจนําไปใช้กับกรณีต่างๆ ไว้ในลักษณะ
               1.1 การใช้และการตีความกฎหมาย

                 1. การใช้กฎหมายมีความหมาย 2 ประการ คือ การบัญญัติกฎหมายตามที่กฎหมายแม่บทให้อํานาจไว้

               ประการหนึ่ง และการใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง

                 2. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงนั้นผู้เกี่ยวข้อง และได้รับผลจากกฎหมายก็อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ใช้กฎหมาย

               ทั้งสิ้น

                 3. การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงยังอาจแบ่งเป็นการใช้โดยตรงและโดยเทียบเคียง
                 4. การตีความกฎหมายของกฎหมายแต่ละระบบ หรือแต่ละประเทศก็มีการตีความที่แตกต่างกัน และ

               กฎหมายแต่ละประเภทกันก็ยังมีหลักเกณฑ์ในการตีความที่แตกต่างกัน

                 5. กฎหมายที่ใช้อยู่อาจมีช่องว่างในการใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมาย ซึ่ง

               กฎหมายนั้นอาจกําหนดวิธีการไว้หรือบทกฎหมายมิได้กําหนดวิธีการไว้ ก็ต้องเป็นไปตามหลักทั่วไป
               1.1.1 การใช้กฎหมาย

                การใช้กฎหมายมี 2 ประเภท คือ การใช้กฎหมายโดยตรงและ การใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง

                  การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงโดยตรงกับการใช้โดยเทียบเคียงเกิดขึ้นพร้อมกันได้ การใช้กฎหมายโดยตรง
               ต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายก่อน โดยการศึกษากฎหมายในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้รู้ถึงความหมายหรือเจตนารมย์

               ของกฎหมายก่อน แล้วจึงมาพิจารณาว่าตัวบทกฎหมายนั้นสามารถปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้หรือไม่ การใช้

               กฎหมายโดยการเทียบเคียง กฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแม้พยายามให้รอบคอบเพียงใด

               บ่อยครั้งพบว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติไว้โดยตรงที่สามารถยกมาปรับ
               แก่คดีได้ จําเป็นต้องหากฎหมายมาใช้ปรับแก่คดีให้ได้ โดยพยายามหากฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่พอจะ

               ใช้ปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37