Page 24 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 24
24
5. ความรับผิดทางอาญา
1. องค์ประกอบภายนอกของความผิดคือ ผู้กระทํา การกระทําและวัตถุแห่งการกระทํา
2. องค์ประกอบภายในของความผิดโดยหลักแล้วคือ “เจตนา”
3. ในบางกรณีองค์ประกอบภายในของความผิดคือ “ประมาท”
4. บางกรณีแม้ไม่มีเจตนาหรือไม่ประมาท บุคคลก็อาจต้องรับผิดหากมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า “ไม่เจตนา
และไม่ประมาท” ก็ต้องรับผิด
5.1 องค์ประกอบภายนอก
1.องค์ประกอบภายนอก หมายความถึง ผู้กระทํา การกระทํา และวัตถุแห่งการกระทํา
2. ผู้กระทําแบ่งออกเป็น ผู้กระทําความผิดเอง ผู้กระทําความผิดโดยทางอ้อมและผู้ร่วมกระทําความผิด
3. การกระทําจะถึงขั้นที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เช่น เข้าขั้นลงมือตาม ปอ. มาตรา 80 หรือ
ตระเตรียมในบางกรณี เช่น ตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ ซึ่ง ปอ. มาตรา 219 ถือว่าเป็นความผิด
4. วัตถุแห่งการกระทํา หมายถึง สิ่งที่ผู้กระทํามุ่งหมายกระทําต่อ เช่น “ผู้อื่น” ในความผิดฐานฆ่าคน ตาม
ปอ. มาตรา 288 “ทรัพย์ของผู้อื่น” ในความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ปอ. มาตรา 334 หรือฐานทําให้เสียทรัพย์
ตาม ปอ. มาตรา 358
5. การขาดองค์ประกอบภายนอกหมายความว่า องค์ประกอบภายนอกข้อใดข้อหนึ่งไม่มีอยู่ตามความ
เป็นจริง เช่น ยิงไปที่ศพ หรือลักทรัพย์ของตนเอง เป็นต้น
5.1.1 ความหมายขององค์ประกอบภายนอก
องค์ประกอบภายนอกของความผิดแต่ละฐาน คือ ผู้กระทํา การกระทําและวัตถุแห่งการกระทํา เช่น
ความผิดฐานฆ่าคนตายคือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า (3) ผู้อื่น
ผู้กระทําความผิดในทางอาญาอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้กระทําความผิดเอง ผู้กระทําความผิด
โดยทางอ้อม ผู้ร่วมกระทําผิด
ผู้กระทําความผิดเอง คือ ผู้ลงมือกระทําความผิดด้วยตนเอง หรือใช้สัตว์หรือบุคคลที่ไม่มีการกระทํา
ในทางอาญาเป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด
ผู้กระทําความผิดในทางอ้อม คือ ผู้ที่ใช้หรือหลอกให้บุคคลที่ไม่ต้องรับผิดในทางอาญาเพราะขาดเจตนา
เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด
ผู้ใช้ให้กระทําความผิด หมายถึง ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นไปกระทําความผิดโดยผู้อื่นมีเจตนาในการกระทําความผิด
ผลของความแตกต่างคือ เรื่อง การพยายามกระทําความผิด ผู้กระทําความผิดเองรับผิดฐานพยายามเมื่อ
ได้ลงมือกระทําความผิด ผู้กระทําความผิดโดยทางอ้อมรับผิดฐานพยายามเมื่อใช้หรือหลอกแล้ว ผู้ใช้ให้
กระทําความผิด รับผิดฐานพยายาม เมื่อผู้ถูกใช้ลงมือกระทําความผิดที่ใช้แล้ว