Page 49 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 49
49
4.1.4 โมฆะกรรมนั้นอาจสมบูรณ์โดยฐานเป็นนิติกรรมอย่างอื่น
จากการพิจารณาว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะ แต่อาจสมบูรณ์ในฐานะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นนั้น ประการแรก
ต้องมิใช่เป็นโมฆะเนื่องจากการแสดงเจตนาทํานิติกรรมนั้นเสื่อมเสีย ประการที่สอง นิติกรรมที่เข้าข้อ
สันนิษฐานมักเป็นเรื่องที่โมฆะกรรมนั้นเกี่ยวกับเรื่องแบบ เมื่อไม่สมบูรณ์ตามแบบนิติกรรมอย่างหนึ่ง ก็อาจ
ดูว่าเจตนาเป็นนิติกรรมอีกแบบได้ และนิติกรรมอย่างหลังนี้ต้องสมบูรณ์ตามแบบหรือข้อกําหนดใน
กฎหมายด้วย
4.1.5 การเรียกทรัพย์คืนอันเนื่องจากนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
ต้องฟ้องเรียกทรัพย์คืนใน 1 ปี นับแต่รู้ถึงสิทธิเรียกคืน คือ รู้ถึงความเป็นโมฆะนั้น แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับ
แต่วันทํานิติกรรมที่เป็นโมฆะ
4.2 โมฆียกรรม : ลักษณะทั่วไป
1. นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์อยู่ แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าหากนิติกรรมนั้นถูกบอกล้าง
ก็มีผลเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก หากไม่มีการบอกล้าง หรือมีการให้สัตยาบัน นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ตลอดไป
2. การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อมกระทําได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกําหนดได้แน่นอน
3. การให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทําภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียกรรม
นั้นหมดสิ้นไปแล้ว
4.2.1 ความหมายของโมฆียะกรรมและนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะ
สาเหตุที่ทําให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะมี 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ
(1) เนื่องจากไม่เป็นไปตามบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องความสามารถ เช่น ผู้เยาว์ทํานิติกรรมไม่ได้รับความ
ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และไม่เข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายอนุญาต หรือผู้ไร้ความสามารถทํานิติกรรม
เป็นต้น
(2) เนื่องจากการแสดงเจตนาโดยวิปริต เช่น การแสดงเจตนา เพราะถูกข่มขู่ หรือถูกกลฉ้อฉล เป็นต้น
4.2.2 วิธีการบอกล้างโมฆียะกรรม
การบอกล้างโมฆียกรรมต้องกระทําโดยการแสดงเจตนาต่อบุคคลที่เข้าทํานิติกรรมอีกฝ่ายหนึ่ง การบอก
ล้างโมฆียกรรมไม่มีแบบ จึงอาจทําได้โดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
4.2.3 การให้สัตยาบัน
การให้สัตยาบันต้องทําต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะ และจะแสดงเจตนาให้สัตยาบัน
โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้