Page 44 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 44
44
7. ภูมิลําเนานั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปโดย
(1) ย้ายที่อยู่
(2) มีเจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลําเนาเป็นหลักเกณฑ์
2 ประการประกอบกัน หากพฤติการณ์เข้าหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวไม่ถือว่าภูมิลําเนาได้เปลี่ยนแปลงไป
2.4.1 ประโยชน์ของภูมิลําเนา มีประโยชน์คือ
(1) การฟ้องคดี ทําให้ทราบเขตอํานาจศาล
(2) การส่งคําคู่ความหรือเอกสาร ส่ง ณ ภูมิลําเนา
(3) การชําระหนี้ ชําระ ณ ภูมิลําเนาของเจ้าหนี้
(4) การสาบสูญ ถือหลักการไปจากภูมิลําเนา
2.4.2 การกําหนดภูมิลําเนา
ตาม ปพพ. มาตรา 44 คือผู้เยาว์ใช้ภูมิลําเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีบิดามารดาของผู้เยาว์แยกกัน
อยู่ให้ถือภูมิลําเนาของบิดาหรือมารดาตนอยู่ด้วย ปพพ. มาตรา 45 ภูมิลําเนาของคนไร้ความสามารถได้แก่
ภูมิลําเนาของผู้อนุบาล
2.4.3 บุคคลที่กฎหมายกําหนดภูมิลําเนาให้
เลือกภูมิลําเนาเองไม่ได้ เพราะผู้เยาว์และคนไร้ความสามารถเป็นผู้หย่อนความสามารถ ถูกตัดทอนสิทธิ
ในการทํานิติกรรม หากผู้เยาว์จะทํานิติกรรม ต้องได้รับความยินยอมหรือให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทําแทน
ส่วนคนไร้ความสามารถทํานิติกรรมไม่ได้เลย หากทําจะเป็นโมฆียะ ต้องให้ผู้อนุบาลทําแทน ด้วยเหตุนี้
กฎหมายจึงกําหนดให้ถือภูมิลําเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและ
เหมาะสมในการควบคุมดูแลและใช้อํานาจปกครอง
2.4.4 การเปลี่ยนภูมิลําเนา
ก. ย้ายที่อยู่
ข. เจตนาจงใจจะเปลี่ยนภูมิลําเนา
พิสูจน์ได้โดยดูจากข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ที่แสดงออกภายนอก เช่น แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน ขนย้าย
ครอบครัวไปอยู่บ้านใหม่ ฯลฯ ข้อสําคัญคือ ต้องได้ความตามหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อ มิใช่ข้อใดข้อหนึ่ง
2.4.5 ภูมิลําเนาเฉพาะการ
ปพพ. มิได้กําหนดแบบวิธีไว้ การเลือกมีลักษณะเป็นข้อตกลงหรือสัญญาจึงดูที่เจตนาของคู่กรณี ซึ่งอาจ
ตกลงกันโดยทําเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปากเปล่า หรือโดยปริยายก็ได้