Page 39 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 39

39


                  นักกฎหมายถือการหายใจเป็นหลักฐานแสดงการเริ่มมีชีวิต ส่วนแพทย์ถือว่านอกจากการหายใจแล้วการ

               เต้นของหัวใจ การเต้นของสายสะดือ การเคลื่อนไหวร่างกาย และหลักฐานอื่นๆก็แสดงว่าทารกมีชีวิตด้วย
                ผลของความเห็นที่แตกต่างนี้ ทําให้การวินิจฉัยจุดเริ่มต้นของการเริ่มสภาพบุคคลของนักกฎหมายแตกต่าง

               กันเป็นสองความเห็น คือ

                 ความเห็นแรก หากยึดหลักว่า การหายใจเป็นข้อสาระสําคัญของการเริ่มมีชีวิตเพียงประการเดียว จะถือ

               ว่าสภาพบุคคลเริ่มเมื่อทารกเริ่มหายใจ โดยเห็นว่าการคลอดและการมีชีวิตรอดอยู่เป็นทารกเป็นหลักเกณฑ์

               พิจารณาการเริ่มสภาพบุคคลประกอบกัน
                 ความเห็นที่สอง หากถือตามความเห็นของแพทย์ เมื่อทารกคลอดหมดตัวพ้นช่องคลอดโดยมีหลักฐาน

               แสดงการมีชีวิตอย่างอื่นแล้ว ถือว่าเริ่มสภาพบุคคล จะหารใจหรือไม่ไม่เป็นข้อสําคัญ และยึดหลักว่าการ

               คลอดแล้วเป็นหลักของการเริ่มสภาพบุคคล การอยู่รอดเป็นพฤติการณ์ประกอบการคลอดว่าเป็นบุคคล

               ตลอดไป มิใช่จุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล

               2.1.2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา
                 โดยหลักแล้ว บุคคลเท่านั้นที่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายได้ แต่บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองนี้

               เป็นข้อยกเว้น ให้ทารกในครรภ์มารดาแม้ยังไม่มีสภาพบุคคล ก็สามารถมีสิทธิได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ภายหลัง

               ทารกนั้นต้องเกิดมารอดอยู่ ทารกในครรภ์มารดา ที่เป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา ก็สามารถมีสิทธิได้ หาก
               ภายหลังเกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน

                 เจตนารมณ์ของกฎหมายมี 2 ประการ คือ (1) เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของทารกในครรภ์มารดา (2) เพื่อ

               ขจัดความไม่เสมอภาคในเรื่องสิทธิ

               2.1.3 การนับอายุบุคคลกรณีไม่แน่นอนของการเริ่มสภาพบุคคล
                 การกําหนดวันเกิดของบุคคลต่อไปนี้

                  (1) รู้แต่เพียงว่า ก เกิด ปี พ.ศ. 2480 > เกิดวันที่ 1 เมษายน 2480

                  (2) รู้แต่เพียงว่า ข เกิด ปี พ.ศ. 2493 > เกิดวันที่ 1 มกราคม 2493

                  (3) รู้เพียงว่า ค เกิดเดือนมีนาคม 2500 > เกิดวันที่ 1 มีนาคม 2500
                  (4) ไม่รู้ว่า ง เกิดเมื่อใด > เมื่อเป็นเช่นนี้ให้สอบสวนปีเกิดของ ง ก่อนว่าเกิดในปีใด ได้ปีเกิดแล้ว นํา

               ปพพ. มาตรา 16 มาใช้หาวันเกิด

               2.1.4 การสิ้นสภาพบุคคล (ตาย)
                 1. หากไม่รู้ลําดับการตายของบุคคลจะเกิดปัญหาประการใด

                  เกิดปัญหาเมื่อบุคคลสองคนหรือมากกว่า ต่างเป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไปเกิดอุบัตุเหตุหรือเหตุร้าย

               ร่วมกันเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านั้นตาย ไม่รู้ใครตายก่อนตายหลัง ทําให้เกิดปัญหาเรื่องการรับมรดก ซึ่งมี
               หลักเกณฑ์ว่า ทรัพย์สินของผู้ตายจะเป็นมรดกตกทอดได้ก็แต่ผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้น หลังกฎหมายจึง

               กําหนดสันนิษฐานไว้ว่า ตายพร้อมกัน ใครจะเป็นทายาทไม่ได้ และต่างไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44