Page 34 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 34
34
1.1.3 การอุดช่องว่างของกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กําหนดวิธีอุดช่องว่างของกฎหมายไว้ในมาตรา 4
1.2 สิทธิและการใช้สิทธิ
1. สิทธิเป็นสถาบันหลักในกฎหมาย เมื่อกฎหมายกําหนดสิทธิแล้วจะต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่ที่จะต้อง
ปฏิบัติหรือต้องไม่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิของผู้ทรงสิทธินั้น
2. สิทธิอาจแบ่งออกได้เป็นสิทธิตามกําหมายมหาชน และสิทธิตามกฎหมายเอกชน ซึ่งแต่ละประเภทยัง
อาจแบ่งออกย่อยๆ ได้อีก
3. การมีสิทธิกับการใช้สิทธิมีความแตกต่างกัน การใช้สิทธิก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เช่น
ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต
1.2.1 สิทธิและแนวคิดเรื่องสิทธิ
สิทธิ ตามความเห็นของ ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ สิทธิเป็นทั้ง
อํานาจ และเป็นทั้งประโยชน์ จึงถือได้ว่า สิทธิ คือ อํานาจที่กฎหมายให้เพื่อให้สําเร็จประโยชน์ที่กฎหมาย
คุ้มครอง
สิทธิคือ อํานาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลในอันที่จะกระทําการเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือบุคคลอื่น
เช่น อํานาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลในอันที่จะเรียกร้องให้บุคคลอีกบุคคลหนึ่งกระทําการหรืองดการ
กระทําบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ตน เช่นเรียกให้ชําระหนี้ เรียกให้งดเว้นการประกอบกิจการแข่งขันกับตน
หรือการมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงแล้วก็คืออํานาจของผู้ที่จะเป็นเจ้าของในอันที่จะใช้สอยแสวงหา
ประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนจําหน่าย จ่าย โอน ห้ามผู้อื่นเข้ามาใช้สอย เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหน้าที่คือ
สิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน เมื่อกฎหมายกําหนดรับรองสิทธิของผู้ใดแล้วก็เกิดมีหน้าที่แก่บุคคลซึ่งต้อง
กระทําหรืองดเว้นการกระทําบางอย่างตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้แก่บุคคลนั้น เช่น กฎหมาย
รับรองสิทธิในชีวิต ก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นที่จะต้องไม่ไปฆ่าเขา กฎหมายรับรองสิทธิในร่างกาย ก็ก่อ
หน้าที่แก่บุคคลอื่นที่จะไม่ไปทําร้ายเขา กฎหมายรับรองสิทธิในหนี้ของเจ้าหนี้ ก็ก่อให้เกิดสิทธิแก่ลูกหนี้ที่
จะต้องชําระหนี้
เสรีภาพ ได้แก่ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงําของผู้อื่น หรือภาวะที่ปราศจากการหน่วงเหนี่ยว
ขัดขวาง เสรีภาพจึงเป็นเรื่องของบุคคลที่จะกําหนดตนเองจะกระทําการใดๆ โดยตนเองโดยอิสระปราศจาก
การแทรกแซงขัดขวางจากภายนอก เสรีภาพมีลักษณะต่างจากสิทธิหลายประการได้แก่
(1) ทั้งสิทธิและเสรีภาพก่อให้เกิดหน้าที่แก่ผู้อื่นที่จะต้องเคารพแต่สิทธิ อาจก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไป
ก็ได้ เช่น มีสิทธิในทรัพย์สิน ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลที่จะต้องเคารพในสิทธินี้ไม่เข้าไปขัดขวางการใช้สอย
ไม่ถือเอามาเป็นของตน แต่เสรีภาพก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไปจะต้องเคารพ เช่นเสรีภาพในการนับถือ
ศาสนา เสรีภาพในร่างกายก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไปที่จะต้องเคารพ