Page 38 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 38

38


                 8. กรณีมี่บุคคลหลายคนประสบเหตุร้าย ร่วมกันและตายโดยไม่รู้ลําดับแน่นอนแห่งการตาย จะกําหนดว่า

               ใครตายก่อนตายหลังต้องนําสืบถึงข้อเท็จจริงเป็นรายๆไป หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องถือตามข้อสันนิษฐานของ
               กฎหมายว่าบุคคลหลายคนนั้นตายพร้อมกัน

               2.1.1 การเริ่มสภาพบุคคล

                 (1) ประโยชน์และความจําเป็นที่จะต้องรู้ว่ามนุษย์มีสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใด สิ้นสุดเมื่อใด ก็เพื่อวินิจฉัย

               ปัญหาในทางกฎหมายบางประการ เช่น
                  (ก) ในทางแพ่ง การรู้ว่าสภาพบุคคลเกิดขึ้นเมื่อใดก็เพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคลนั้นเอง รวมทั้ง

               สิทธิหน้าที่และความชอบที่เกี่ยวโยงและผูกพันถึงบุคคลอื่นด้วย เพราะสิทธิของบุคคลจะมีขึ้นตั้งแต่เกิดมา

               รอดมีชีวิตอยู่ คือ เริ่มมีสภาพบุคคล หรืออาจมีย้อนขึ้นไปจนถึงวันที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่นสิทธิในการ

               เป็นทายาทรับมรดก ตาม ปพพ. มาตรา 1604 ส่วนการตายทําให้สิทธิและหน้าที่ของบุคคลสิ้นสุดลง และ
               ทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท การพิจารณากองมรดก ผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ผู้ตายมี

               สิทธิหน้าที่และความรับผิดอย่างไร กับพิจารณาหาทายาทรับมรดก กฎหมายให้พิจารณาในเวลาที่เจ้า

               มรดกถึงแก่ความตาย การรู้วันเกิดวันตายของบุคคลจึงมีความสําคัญ

                  (ข) ในทางอาญา การวินิจฉัยถึงความรับผิดในทางอาญาของผู้กระทําผิดฐานฆ่าคนตาย ตาม ปอ.

               มาตรา 288 หรือฐานทําให้แท้งลูก ตาม ปอ. มาตรา 301 ถึงมาตรา 305 จําเป็นต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า
               ทารกมีสภาพบุคคลหรือไม่ ทารกตายก่อนคลอดหรือตายระหว่างคลอด เป็นการคลอดออกมาโดยไม่มีชีวิต

               ไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้ ความผิดฐานทําให้แท้งลูก ตาม ปอ. มาตรา 301 ถึง ปอ.

               มาตรา 305 มีโทษน้อยกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เมื่อบุคคลตายแล้ว สิ้นสภาพบุคคล ก็ไม่

               เป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้อีก
                (2) การคลอดเสร็จบริบูรณ์ตามวิชาแพทย์ แผนปัจจุบัน ถือการคลอดเริ่มต้นตั้งแต่มีการเจ็บท้องคลอดและ

               สิ้นสุดของการคลอดถือเอาเมื่อเด็กและทารกคลอดแล้ว รวมทั้งการหดตัวของมดลูกเป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่ง

               เป็นเวลา 15 นาที ถึง 2 ชั่วโมง หลังเด็กคลอด ซึ่งไม่เหมือนกันกับ การคลอดแล้วตาม ปพพ. มาตรา 15

               นั้น ทารกต้องหลุดพ้นจากช่องคลอดของมารดาออกมาหมดตัวก่อน โดยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
               ติดอยู่ที่ช่องคลอด ส่วนการคลอดของรกหรือการหดตัวของมดลูก ไม่มีความหมายในการพิจารณาการเริ่ม

               สภาพบุคคลตามกฎหมาย เพราะการพ้นช่องคลอดของทารกหมายถึงการแยกตัวออกเพื่อมีชีวิตเป็นอิสระ

               จากมารดา

                 นักกฎหมายพิจารณาเฉพาะการคลอดที่เกี่ยวกับตัวทารกเท่านั้น ไม่รวมถึงอาการของการคลอดในส่วนตัว

               มารดา เพราะกฎหมายมุ่งที่จะค้นหาเวลาเริ่มสภาพบุคคลของทารกเพียงประการเดียว
                 (3) หลักวินิจฉัยการเริ่มมีชีวิตของแพทย์และนักกฎหมาย แตกต่างกัน และมีผลให้หลักเกณฑ์การเริ่ม

               สภาพบุคคลเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43