Page 41 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 41
41
2.2.2 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยที่ศาลสั่ง
ผู้จัดการทรัพย์สินตาม ปพพ. มาตรา 54 ให้ผู้จัดการมีอํานาจจัดการมีอํานาจจัดการอย่างตัวแทนรับมอบ
อํานาจทั่วไปคือทํากิจการแทนผู้ไม่อยู่ได้ ยกเว้นตามข้อห้าม 6 ประการตามมาตรา 801 ซึ่งจะต้องขอ
อนุญาตศาลก่อนจึงจะทําได้
2.2.3 การจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยบุคคลผู้ไม่อยู่ตั้ง
มีอํานาจเช่นเดียวกัน เพราะ ปพพ. มาตรา 60 ให้นําบทบัญญัติกฎหมายลักษณะตัวแทนมาใช้บังคับใน
เรื่องการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ เพียงที่ไม่ขัดแย้งกับกฎหมายเรื่องบุคคล เว้นแต่ข้อห้าม 6 ประการ
ตาม ปพพ. มาตรตา 801 หากจําเป็นต้องกระทํา มีกฎหมาย มาตรา 51 บัญญัติให้ขออนุญาตศาล เพราะ
ไม่มีตัวการจะให้คําอนุญาตได้
2.2.4 สาบสูญ
หลักสําคัญที่ศาลจะมีคําสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญ
การที่ศาลจะสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญได้ตามที่มีผู้ร้องขอ ต้องพิจารณาได้ความ 2 ประการ คือ
(1) บุคคลได้หายไปจากที่อยู่ โดยไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว
(2) มีกําหนด 5 ปี ในกรณีธรรมดา และ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
2.2.5 ผลของการสาบสูญ
สาบสูญไม่เป็นเหตุให้ขาดการสมรส แต่เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้เท่านั้น
2.2.6 การถอนคําสั่งแสดงความสาบสูญ
กรณีที่ร้องขอให้ศาลถอนคําสั่งแสดงสาบสูญ มี 2 ประการคือ
(1) ผู้สาบสูญยังมีชีวิตอยู่
(2) ผู้สาบสูญตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี ตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้
2.3 ชื่อและสถานะของบุคคล
1. ชื่อคือสิ่งที่ใช้เรียกขานเพื่อจําแนกตัวบุคคลทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่
2. กฎหมายบัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล แต่บุคคลอาจมีชื่ออื่นๆ ได้อีก เช่น ชื่อรอง ชื่อ
ฉายา ชื่อแฝงและชื่อบรรดาศักดิ์
3. ชื่ออื่นๆนั้น บุคคลอาจตั้งขึ้นเองหรือผู้อื่นตั้งให้ แต่ชื่อสกุลเป็นชื่อที่บุตรได้รับสืบเนื่องมาจากบิดา หรือ
ภริยาได้รับสืบเนื่องมาจากสามี ถ้าเด็กไม่ปรากฏบิดามารดา ไม่อาจได้ชื่อสกุลจากบิดามารดาได้ก็ต้องตั้ง
ชื่อสกุลให้ใหม่
4. บุคคลอาจเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรองได้ตามใจสมัคร แต่ชื่อสกุลนั้น บุคคลหนึ่งบุคคลใดในวงศ์สกุลหามี
สิทธิจะเปลี่ยนแปลงตามใจชอบได้ไม่ จะเปลี่ยนได้ก็แต่โดยตั้งชื่อสกุลขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลง