Page 36 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 36
36
1.2.2 การใช้สิทธิ
การมีสิทธิกับการใช้สิทธินั้นแตกต่างกัน การมีสิทธินั้นเมื่อกฎหมายรับรองก็มีสิทธิ แต่อาจถูกจํากัดการใช้
สิทธิได้ เช่น ผู้เยาว์แม้จะมีสิทธิในทรัพย์สินแต่อาจถูกจํากัดสิทธิทํานิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินได้
กฎหมายกําหนดแนวทางการใช้สิทธิเอาไว้ โดยทั่วไปก็คือต้องไม่ใช้สิทธิให้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และ
ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต
1.3 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
1. บทบัญญัติที่เป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่อาจนําไปใช้กับกรณีต่างๆ ในประมวลกฎหมาย
แพ่งพาณิชย์ที่ไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้โดยเฉพาะ
2. การทําเอกสารที่กฎหมายกําหนดว่าต้องทําเป็นหนังสือนั้นกฎหมายวางหลักเกณฑ์ว่าต้องลงลายมือชื่อ
3. เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ดีจะให้ผลพิบัติก็ดีเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ใกล้
จะประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะ
เช่นนั้น
4. ดอกเบี้ยเป็นดอกผลนิตินัยอย่างหนึ่ง กฎหมายกําหนดเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ย
แต่มิได้กําหนดอัตราไว้ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
1.3.1 การทําและการตีความเอกสาร
สัญญากู้มีข้อความซึ่งอาจแปลความได้สองนัย ถ้าแปลความนัยแรกจะเป็นคุณแก่ผู้ให้กู้ ถ้าแปลตาม
ความนัยที่สองจะเป็นคุณแก่ผู้กู้ เมื่อเป็นดังนี้จะต้องตีความตามนัยสอง คือ ต้องตีความให้เป็นคุณแก่
คู่กรณี ฝ่ายที่ต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้คือลูกหนี้นั่นเอง ตามมาตรา 11
1.3.2 เหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยกับภัยธรรมชาติ ไม่เหมือนกันเพราะเหตุสุดวิสัยอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ หรืออาจเกิดจาก
การกระทําของคนก็ได้ และภัยธรรมชาติก็อาจไม่เป็นเหตุสุดวิสัยก็ได้
การวินิจฉัยว่า กรณีใดเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ มีจุดสําคัญในประเดนสําคัญที่ว่าบุคคลผู้ประสบหรือใกล้
จะต้องประสบไม่อาจป้องกันได้ดี แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
1.3.3 ข้อกําหนดเรื่องดอกเบี้ย
กฎหมายในบทเบ็ดเสร็จทั่วไป กําหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ โดยกําหนดตามมาตรา 7 ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์