Page 31 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 31
31
5.4 องค์ประกอบภายใน (ไม่เจตนาและไม่ประมาท)
1. ความผิดอาญาในบางเรื่อง กฎหมายกําหนดให้ผู้ซึ่งมีการกระทําอันครบองค์ประกอบภายนอกต้องรับ
ผิดทันทีโดยไม่ต้องคํานึงถึงองค์ประกอบภายใน กล่าวคือแม้ผู้กระทําจะไม่เจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทํา
ซึ่งมีการกระทําอันครบองค์ประกอบภายนอกก็ต้องมีความผิด
2. ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติเกี่ยวกับความผิดที่ผู้กระทําไม่ต้องเจตนาและไม่ต้องประมาทไว้ใน
ความผิดลหุโทษ นอกจากนั้นยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆ อีกบางเรื่อง เช่น พระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งลงโทษ
ผู้ที่ยื่นรายการเสียภาษีศุลกากรที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงโดยไม่คํานึงว่า ผู้นั้นเจตนายื่นไม่ตรงกับความจริง
หรือประมาทในการยื่นไม่ตรงกับความจริงนั้นหรือไม่
3. ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนาและไม่ต้องประมาทนี้ ก็ยังอยู่ภายใต้หลักทั่วไปที่ว่าผู้กระทําต้องมีการกระทํา
หากไม่มีการกระทําแล้ว ก็ไม่มีความผิด
4. เนื่องจากไม่มีเจตนา ผู้กระทําก็มีความผิด เพราะฉะนั้น ผู้กระทําจะยกเอาข้อแก้ตัวว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงอัน
เป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดมาอ้าง เพื่อไม่ต้องรับผิดไม่ได้ เพราะข้ออ้างดังกล่าวใช้ได้เฉพาะ
สําหรับความผิดที่ต้องการแสดงเจตนาเท่านั้น
5. อย่างไรก็ตาม ข้อแก้ตัวอื่นๆ เช่น กระทําไปเพราะความจําเป็นตาม ปอ. มาตรา 67 หรือสําคัญผิดใน
ข้อเท็จจริงตาม ปอ. 62 ก็ยังนํามาอ้างเพื่อเป็นคุณแก่ผู้กระทําได้อยู่เสมอ
5.4.1 ความหมายของการกระทํา “ไม่เจตนาและไม่ประมาท”
ความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนาไม่ต้องประมาทก็เป็นความผิด หมายความว่า แม้ผู้กระทําไม่มีเจตนาและไม่
ประมาท ผู้กระทําก็ต้องมีความผิด กล่าวคือเป็นความผิดที่ไม่คํานึงถึงองค์ประกอบภายในใดๆ เลย เมื่อ
การกระทําครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องนั้นๆ แล้วก็ถือว่าผู้กระทํามีความผิดทันที ไม่ต้อง
คํานึงถึงสภาพจิตใจของผู้กระทําแต่อย่างใดเลย
ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในความผิดลหุโทษ เพราะมาตรา 104 ซึ่งเป็น
บทบัญญัติทั่วไปที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษได้ให้หลักไว้ว่า การกระทําความผิดลหุโทษแม้ผู้กระทําไม่มีเจตนา
หรือประมาทก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคําในบทบัญญัติความผิดลหุโทษมาตรานั้นๆ เอง จะแสดงให้เห็น
ว่าต้องเจตนาหรือประมาทจึงจะเป็นความผิด
5.4.2 ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการกระทําโดยไม่เจตนาและไม่ประมาท
ผู้กระทําจะไม่มีความผิด เพราะความผิดที่ไม่ต้องเจตนาและไม่ประมาทก็เป็นความผิดได้นี้ ยังต้องอยู่
ภายใต้หลักทั่วไปที่ว่า บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาเมื่อมีการกระทําตามความหมายของกฎหมาย หาก
ไม่มีการกระทําก็ไม่มีความผิด