Page 45 - กฎหมายในชีวิตประจำวัน
P. 45
45
3. บุคคลธรรมดา : ความสามารถ
1. บุคคลมีสิทธิหน้าที่อย่างไร ย่อมใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามสิทธิและหน้าที่ของตน สภาพ การณ์ที่
บุคคลจะมีสิทธิหรือใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้แคไหนเพียงไร เรียกว่า ความสามารถมี 2 ลักษณะ คือ
1) ความสามารถในการมีสิทธิ
2) ความสามารถในการใช้สิทธิ
2. ตามหลักบุคคลมีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลบางจําพวก กฎหมายตัดทอนความสามารถในการมี
และใช้สิทธิไว้บางประการ ทําให้มีสภาพเป็นผู้หย่อนความสามารถ ซึ่งกฎหมายเรียกรวมๆกันว่าคนไร้
ความสามารถ (ในความหมายกว้างขวาง) คนไร้ความสามารถนี้มี 3 ประเภท คือ ผู้เยาว์
คนไร้ความสามารถ (ในความหมายอย่างแคบ) และคนเสมือนไร้ความสามารถ
3. ผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามารถเพราะอายุน้อย กฎหมายถือว่าผู้เยาว์ยังมีความคิด ความรู้สติปัญญา
ความชํานาญ และไหวพริบไม่สมบูรณ์พอที่จะใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้โดยลําพัง ดังนั้น การทํานิติกรรมต้อง
ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทําแทน หรือต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน กิจการนั้นๆ จึงมี
ผลสมบูรณ์ หากฝ่าฝืนนิติกรรมเป็นโมฆียะ แต่มีข้อยกเว้นสําหรับนิติกรรมบางอย่าง ซึ่งเป็นคุณประโยชน์
แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว หรือต้องทําเองเฉพาะตัว หรือที่เป็นการจําเป็นแก่การเลี้ยงชีพผู้เยาว์สามารถทําได้โดย
ลําพัง ไม่ต้องรับความยินยอมก่อนหรือกรณีผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น
และทําสัญญาเป็นลูกจ้างผู้เยาว์สามารถทํากิจการในขอบเขตแห่งการนั้นได้เสมือนเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
4. คนไร้ความสามารถ (ในความหมายอย่างแคบ) หมายถึง คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้
ความสามารถแล้ว เป็นผู้หย่อนความสามารถเนื่องจากจิตไม่ปกติหรือสมองพิการ กฎหมายถือว่าเป็นคนไม่
มีความรู้สึกผิดชอบ ไม่สามารถแสดงเจตนาของตนได้ถูกต้อง และไม่เป็นผู้อาจทํานิติกรรมใดๆให้มีผล
สมบูรณ์ได้เลย ต้องมีคนอื่นอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้อนุบาล เป็นผู้แทน หากฝ่าฝืนนิติกรรมจะเป็นโมฆียะ
5. คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น เป็นผู้หย่อนความสามารถ เนื่องจากมีเหตุบกพร่องเพราะร่างกายพิการ
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีความประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมี
เหตุอื่นใดในทํานองเดียวกัน จนถึงขนาดไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่
อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว กฎหมายจึงกําหนดให้อยู่ในความดูแลช่วยเหลือของ
บุคคลอื่นซึ่งเรียกว่าผู้พิทักษ์ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น โดยหลักใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเช่น
บุคคลธรรมดาทั่วไป เว้นแต่การทํานิติกรรมที่สําคัญบางชนิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
ต่อคนเสมือนไร้ความสามารถเองและผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น ที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงมี
ผลสมบูรณ์ หากฝ่าฝืนนิติกรรมจะเป็นโมฆียะ